by Jitta
วันที่ 5 เม.ย. 2560 • อัปเดตล่าสุดเมื่อ: วันที่ 12 ม.ค. 2566
# 3 : Tracking your Results

สำหรับในวันนี้เราก็มาพูดกันถึงเรื่องง่ายๆที่หลายๆคนมองข้าม แต่จริงๆแล้ว เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญมากในการทำงานทุกอย่าง รวมทั้งการลงทุนด้วยครับ นั่นก็คือ การวัดผล นั่นเองครับ

สำหรับในวันนี้เราก็มาพูดกันถึงเรื่องง่ายๆที่หลายๆคนมองข้าม แต่จริงๆแล้ว เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญมากในการทำงานทุกอย่าง รวมทั้งการลงทุนด้วยครับ นั่นก็คือ การวัดผล นั่นเองครับ

ผมเองได้เรียนรู้คำๆนึงมาตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจใหม่ๆก็คือ “You can not improve what you can’t measure” แปลง่ายๆว่า “ถ้าเราวัดผลไม่ได้ เราก็ไม่ทำให้ดีขึ้นได้” ดังนั้นถ้าหากเราลงทุนไปเรื่อยๆ โดยไม่เคยมีการวัดผล ไม่เคยรู้เลยว่า เราทำผลตอบแทนได้ดีแค่ไหน ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้หรือเปล่า แล้วจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร เราก็จะเหมือนเรือที่ว่ายวนอยู่ในอ่าง และ พอร์ตการลงทุนเราก็คงจะไม่เติบโตเท่าที่ควร

อย่างที่บอกไว้ใน Jitta Portfolio Series # 1 ครับว่า การดูแค่ Total Gain โดยไม่คำนึงถึงระยะเวลาในการลงทุนนั้นไม่ได้ช่วยวัดผลอะไรเท่าไหร่ การดูผลตอบแทนเป็นรายปี คือ สิ่งที่ช่วยให้เรามองเห็นผลงานตนเองได้ดีกว่ามาก และ ถ้าเราตั้งใจจะลงทุนสร้างทรัพย์สินเพื่ออนาคตอย่างจริงจัง การดูสถิติผลตอบแทนรายปี หลายๆปี (รวมทั้งผลตอบแทนทบต้นต่อปี) เทียบกับเป้าหมายที่เราตั้งไว้เป็นเรื่องสำคัญมาก
Jitta Portfolio จึงมีหน้า Statistic ขึ้นมา เพื่อรวบรวมผลตอบแทนการลงทุนระยะยาวของเรา รวมทั้งสถิติสำคัญต่างๆที่เราสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนากลยุทธ์การลงทุนของเราได้ครับ

1. วัดผลตอบแทนการลงทุนเทียบกับดัชนีหลัก (เช่น SET 50)

เนื่องจากการลงทุนในดัชนีหุ้น ในระยะยาวแล้วเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าเงินเฟ้อ หรือ การซื้อพันธบัตร ดังนั้นเวลาที่เราลงทุนเอง อย่างน้อยที่สุด เราควรจะต้องเอาชนะผลตอบแทนของดัชนีได้นั่นเอง (ถ้าเราแพ้ ก็ หมายความว่า เราควรจะหยุดลงทุนเอง แล้วไปซื้อกองทุนดัชนีจะดีกว่าครับ)

ซึ่งใน Jitta Portfolio นั้น ก็จะแสดงกราฟและตารางการเติบโตของพอร์ตเราตั้งแต่ปีที่เราเริ่มลงทุน (หรือเริ่มใส่ข้อมูลใน Jitta) แล้วเทียบกับการเติบโตของ SET 50 (หรือ การเติบโตของพอร์ตเรา ถ้าหากเราเข้าซื้อเฉลี่ยหุ้นทุกตัวใน SET 50)

จากภาพตัวอย่างก็จะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมานั้น ถ้าหากเราลงทุนใน SET 50 พอร์ตเราจะโตขึ้นประมาณ 3.3 เท่า จากเงิน 1 ล้านบาทที่ลงทุนไป ตอนนี้ก็จะเป็นประมาณ 3.3 ล้านบาท ในขณะที่ถ้าหากเราลงทุนใน Jitta Top 5, Top 10 (ที่แสดงในตัวอย่าง) พอร์ตจะโตขึ้นประมาณ 7.4 เท่า จากเงิน 1 ล้านบาท จะกลายเป็น 7.4 ล้านบาท หรือ มากกว่าการลงทุนใน SET 50 ประมาณเท่ากว่าๆ

ถ้าให้ดี นอกจากดูกราฟระยะยาวว่า ผลตอบแทนของเราชนะผลตอบแทนของ SET 50 ขาดแล้ว ก็ควรจะดูในตารางผลตอบแทนรายปีเพิ่มเติมด้วยว่า ผลตอบแทนเราชนะตลาดทุกปีหรือเปล่า ถ้าชนะทุกปีก็มีความสุข แต่ถ้าหากดูแล้วมีปีไหนที่แพ้ตลาด ก็ควรจะหาข้อบกพร่องของเราให้เจอว่า ผิดพลาดเพราะซื้อหุ้นตัวไหน และทำไมถึงขาดทุนหนักๆครับ

ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เราจะมองเห็นและเรียนรู้จากการลงทุนที่ผิดพลาดของเราได้มากขึ้น และ จะทำให้เราลงทุนได้ดีขึ้นเรื่อยๆในครั้งต่อๆไปครับ

2. ดูการเติบโตของพอร์ตเทียบกับ Jitta Line

อย่างที่เคยบอกไปครับว่า การลงทุนที่จะทำให้เราสบายใจนั้น เมื่อเราได้เริ่มลงทุน ซื้อหุ้นเข้าพอร์ตแล้ว อย่าพยายามไปยึดติดกับหุ้นรายตัวในพอร์ตมากเกินไป พยายามมองทุกอย่างในภาพรวม แล้วค่อยไปค้นหาว่าอะไรที่ผิดปรกติเป็นเรื่องๆไป

ดังนั้น Jitta Portfolio จึงได้จัดทำ Jitta Line ของพอร์ตขึ้นมาให้เทียบกับ การเติบโตของพอร์ต เลยกว่า ปัจจุบันมูลค่าสุทธิของพอร์ตเรา (ตามราคาตลาด) นั้น กำลัง สูงหรือต่ำกว่า มูลค่าที่แท้จริงของพอร์ต (ในมุมมองการทำธุรกิจ) มากน้อยแค่ไหนครับ

ทำให้เราสามารถมอง Portfolio ของเรา เหมือนกับบริษัทๆนึงได้เลยครับ เพราะมีทั้ง Jitta Score และ Jitta Line และมองเห็นภาพได้ชัดเจนว่า ราคาตลาดอยู่สูงหรือต่ำกว่า Jitta Line เท่าไหร่ ทำให้เราสามารถมองเห็นได้ง่ายว่าพอร์ตเรามีอะไรที่ผิดปรกติบ้างหรือยัง จากนั้นก็ไปใช้งานส่วนอื่นๆของ Jitta Portfolio เพื่อปรับพอร์ตของเราให้ดีขึ้นได้ง่ายๆครับ

และแน่นอนครับ พยายามปรับพอร์ตให้ Jitta Score สูงๆ และ Jitta Line สูงขึ้นเรื่อยๆทุกปี เดี๋ยวมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของพอร์ตเราก็จะเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆเอง โดยไม่ต้องไปคิดอะไรมากครับ

3. ให้ความสำคัญกับอัตราผลตอบแทนทบต้น

ในโลกของการลงทุน อัตราผลตอบแทนทบต้น คือ สิ่งที่สำคัญมาก และเราควรจะต้องคอยหมั่นตรวจสอบดูว่า เราสามารถทำผลตอบแทนทบต้นได้ในอัตราเท่าไหร่ มากหรือน้อยกว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้ครับ

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเราลงทุนเป็นระยะเวลายาวนานหลายสิบปี อัตราผลตอบแทนทบต้นของทุกคนจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 20% ต่อปี ดังนั้นเราก็ควรจะตั้งเป้าผลตอบแทนระยะยาวของเราไว้ประมาณนี้ จะได้ไม่เครียดจนเกินไป เพราะสุดท้ายแล้วนักลงทุนระดับโลกทุกคนก็ทำผลตอบแทนได้ประมาณนี้ทั้งหมดครับ

ในหน้า Statistic ของ Jitta Portfolio ก็จะมีบอก จำนวนปีที่เราลงทุนมา พร้อมกับอัตราผลตอบแทนทบต้นต่อปีเอาไว้ให้เห็นง่ายๆครับ ถ้าอยากจะดูแบบละเอียดรายปี ก็เลื่อนลงมาดูด้านล่างในตารางผลตอบแทนรายปีได้ครับ

จากตัวอย่างก็จะเห็นว่า ผลตอบแทนทบต้นต่อปีของเราอยู่ที่ 39.71% ต่อปี ในขณะที่ของ SET50 อยู่ที่ 22.15% ต่อปี เท่ากับว่าเราชนะทั้ง SET 50 และ ชนะทั้งเป้าหมายการลงทุนที่ 20% ต่อปีทั้งหมดครับ ก็ถือว่าทำได้ดีแล้ว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ผลตอบแทนเราเริ่มลดลง เราก็ต้องเริ่มมองหาข้อผิดพลาดและปรับปรุงแก้ไขในทันทีครับ

ทั้งนี้ในเรื่องของผลตอบแทนทบต้นนั้น มีจุดสำคัญจุดนึงที่คนมักจะลืมกันไป ทำให้ผลตอบแทนทบต้นที่คำนวณได้ผิดพลาด นั่นก็คือ เรื่องผลกระทบของการเอาเงินสดเข้าออกจากพอร์ตครับ

เช่น ในปี 2009 ถ้าเราเริ่มลงทุนที่ 1 ล้าน แล้วทำกำไรได้นิดๆหน่อยๆมาเรื่อยๆ จนในปี 2013 พอร์ตโตขึ้นเป็น 2 ล้านบาท แล้วในปี 2014 เราใส่เงินเพิ่มเข้าไปในพอร์ตเพื่อซื้อหุ้นเพิ่มอีก 6 ล้านบาท เราจะคำนวณว่าเงินต้นเรา 1 ล้าน ลงทุนมา 6 ปี พอร์ตโตขึ้นจาก 1 ล้าน กลายเป็น 8 ล้านบาท ได้ผลตอบแทนทบต้นที่ประมาณ 41.42% ต่อปี แบบนี้ก็จะผิดทันทีครับ (เพราะเราใส่เงินเพิ่มเข้ามาเองอีกตั้ง 6 ล้านบาทในปีสุดท้าย ไม่ใช่เงินที่เติบโตขึ้นจากความสามารถในการลงทุนของเราครับ)

คราวนี้มาดูจากตัวอย่างจริงๆในภาพตารางผลตอบแทนนั้น ก็จะเห็นได้ว่า พอร์ตเราเติบโตขึ้นจาก 1 ล้านบาท ในปี 2009 เป็นประมาณ 8.02 ล้านบาทในปี 2014 ซึ่งถ้าคิดผลตอบแทนทบต้นแบบนี้เลยก็จะได้ 41.48% ต่อปี แต่ถ้าไปดูให้ดีๆจะเห็นว่าในปี 2012 มีการเพิ่มเงินเข้ามา (ทรัพย์สินเริ่มต้นปี 2012 มากกว่า ทรัพย์สินสิ้นปี 2011) และในปี 2013 มีการถอนเงินออกไปจากพอร์ต (ทรัพย์สินเริ่มต้นปี 2013 น้อยกว่า ทรัพย์สินสิ้นปี 2012) ซึ่งเราจำเป็นจะต้องนำเรื่องนี้มาคิดด้วย และ ตัดผลกระทบจากการนำเงินสดเข้าออก ออกไปจากการคำนวณผลตอบแทนทบต้นครับ

ซึ่งเมื่อเราตัดผลกระทบเรื่องเงินสดเข้าออกไปแล้ว จะพบว่า พอร์ตเราจะเติบโตขึ้นเป็นมูลค่าประมาณ 7.44 ล้านบาทเท่านั้นในปีล่าสุด (แสดงในบรรทัด total gain ด้านล่าง เป็น ending aseets ล่าสุด) ไม่ใช่ 8.02 ล้านบาท ทำให้ผลตอบแทนทบต้นของเราอยู่ที่ 39.71% ต่อปี ไม่ใช่ 41.48% ต่อปีครับ

ดังนั้นแล้ว ถ้าเราบันทึกข้อมูลการลงทุนของเราทุกอย่างลงใน Jitta Portfolio ก็มั่นใจได้ครับว่า เราจะได้ข้อมูลต่างๆ รวมทั้งผลตอบแทนการลงทุนที่ถูกต้อง เพื่อให้เราวัดผลและปรับปรุงตัวเองได้ครับ

4. เรียนรู้ว่ากลยุทธ์การลงทุนแบบไหนที่ทำกำไรได้ แบบไหนที่ขาดทุน

ข้อนี้เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจ และหลายคนขาดไป ลงทุนมานานแต่ไม่เคยรู้เลยว่า ทำไมตัวเองได้กำไร ทำไมตัวเองขาดทุน สาเหตุง่ายๆก็เพราะว่า ไม่มีกลยุทธ์การลงทุนที่ชัดเจน และไม่เคยเก็บบันทึกไว้ว่า หุ้นตัวไหนที่เราได้กำไร เพราะอะไร หุ้นตัวไหนที่เราขาดทุน เพราะอะไร นั่นเองครับ เลยทำให้ไม่มีข้อมูลในการพัฒนารูปแบบการลงทุนของตัวเอง

Jitta Portfolio ช่วยได้ยังไง ไว้มาต่อกันครั้งหน้านะครับ น่าสนใจแน่นอนครับ

ปล. ใครที่ยังไม่ได้อ่านบทความเรื่อง Jitta Portfolio Series ตอนที่ 1, 2, 4 เข้าไปอ่านได้ที่

Jitta Portfolio Series # 1 : Portfolio Management
http://library.jitta.com/th/article/jitta-portfolio-series-1-portfolio-management

Jitta Portfolio Series # 2 : Asset Allocation
http://library.jitta.com/th/article/jitta-portfolio-series-2-asset-allocation

Jitta Portfolio Series # 4 : Learning from your past investments
https://library.jitta.com/th/article/jitta-portfolio-series-4-learning-from-your-past-investments

ปปล. ใครที่ยังไม่เคยได้ใช้งาน Jitta Portfolio ลองเข้าไปใช้ได้เลยที่ http://www.jitta.com/portfolio