by Jitta
วันที่ 5 ต.ค. 2563 • อัปเดตล่าสุดเมื่อ: วันที่ 12 ม.ค. 2566
    จัดพอร์ตยังไง ให้ลดความผันผวน

    ในช่วงเดือนนี้ที่ตลาดหุ้นอเมริกามีการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง

    ตลาดหุ้น Nasdaq ปรับตัวลดลงสูงสุดถึง 8.6% เพียงแค่ในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน ผมได้มาศึกษาแนวทางในการบริการพอร์ตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และได้พบเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารพอร์ตแบบ Modern Portfolio Theory (MPT)

    MPT ถูกคิดค้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่ชื่อว่า Harry Markowitz ในปี 1952 และต่อมาได้รับรางวัลโนเบลในผลงานวิจัยนี้ด้วยหลักการก็คือการที่นักลงทุนบริหารจัดการพอร์ตด้วยสินทรัพย์ที่ต่างกันเช่น หุ้น ทองคำ กองทุน และ ตราสารหนี้ ด้วยสัดส่วนลงทุนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อสร้างผลตอบแทนได้สูงสุดในขณะที่พยายามลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด

    ยกตัวอย่างเช่น มีเงิน 1 ล้านบาท นำไปลงทุนในสินทรัพย์ดังนี้

    🔸 500,000 บาทนำไปลงในหุ้น A ซึ่งคาดหวังผลตอบแทนไว้ 8% ต่อปี โดยคาดการณ์จากผลงานเฉลี่ยในอดีต

    🔸 อีก 500,000 บาทนำไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย ให้ผลตอบแทนประมาณ 1% ต่อปี

    ถ้านำมาคิดผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นก็จะได้ (500,000/1,000,000) x 8% = 4%

    ส่วนผลตอบแทนของพันธบัตรก็จะได้ (500,000/1,000,000) x 1%= 0.5%

    ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งพอร์ตที่เราบริหารจัดการก็จะได้เท่ากับ 4%+0.5% = 4.5% หรือได้เท่ากับเงิน 45,000 บาทต่อการลงทุน 1,000,000 ในรอบปีนั้น

    แต่ถ้านักลงทุนมองว่าหุ้นมีความเสี่ยงมาก ไม่ว่าจะมาจากการเกิดวิกฤต หรือการกังวลต่อสงครามการค้าที่จะเกิดขึ้น

    จึงปรับพอร์ตการลงทุนลดหุ้นในพอร์ตลงเป็น 300,000 บาท โดยคาดหวังผลตอบแทนจากหุ้นเป็น 6% ต่อปี ส่วนพันธบัตรก็ปรับลงเหลือ 100,000 บาท และคาดหวัง 1% ต่อปี

    เงินที่เหลือ 600,000 บาทนำไปลงทุนในกอง ETF ที่กระจายลงทุนไปในหุ้นกู้เอกชนในบริษัทใหญ่ในอเมริกาที่ให้ดอกเบี้ยเฉลี่ย 5% ต่อปี

    ผลตอบแทนเฉลี่ยจะเป็นดังนี้

    • ผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นก็จะได้ (300,000/1,000,000) x 6% = 1.8%
    • ผลตอบแทนของพันธบัตรก็จะได้ (100,000/1,000,000) x 1%= 0.1%
    • ส่วนผลตอบแทนใน ETF ก็จะได้ (600,000/1,000,000) x 5%= 3.0%

    ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งพอร์ตที่เราบริหารจัดการก็จะได้เท่ากับ 4.9% หรือ 49,000 บาท

    จะเห็นได้ว่าการปรับพอร์ตให้มีความเสี่ยงลดลงด้วยการลดจำนวนเงินที่ลงในหุ้น เลือกหุ้นที่เสี่ยงน้อยลงโดยยอมรับผลตอบแทนที่ลดลง แล้วกระจายไปในกอง ETF ไม่เพียงแต่ลดความเสี่ยงลง แถมยังสามารถเพิ่มผลตอบแทนได้อีก 0.4% ต่อปี

    อย่างไรก็ตามหลักการของ MPT ตั้งอยู่บนสมมุติฐานการคาดการณ์ผลตอบแทนโดยใช้ผลงานในอดีตมาเป็นตัวตั้ง เพื่อหาผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้

    ถ้าผลตอบแทนมีการแกว่งไปมากจากปีก่อน การคำนวณหาผลตอบแทนก็อาจจะเปลี่ยนไปได้

    โดยสรุปการเป็นนักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จต้องรู้จักบริหารความเสี่ยงและผลตอบแทนให้เก่ง

    แม้กระทั่งนักลงทุนระดับโลกอย่าง Ray Dalio ก็ใช้วิธีการกระจายไปลงในสินทรัพย์ที่คิดว่าจะดีในปีนั้นๆ เช่นลงทุนในทองคำในปีนี้ เพื่อช่วยผลตอบแทนของทั้งพอร์ตที่อาจติดลบจากการลงทุนในหุ้นที่โดนผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้หนักๆได้ครับ

    ถ้าสนใจอยากบริหารพอร์ตตามหลักการ Modern Portfolio Theory บ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องยากแล้วครับ เพราะกองทุนส่วนบุคคล Global ETF ของ Jitta Wealth เค้าบริหารจัดการพอร์ตในสินทรัพย์ต่างประเทศตามหลักการนี้อยู่แล้ว โดยมีแผนการลงทุนให้เลือกถึง 3 ระดับความเสี่ยง ก็คือ

    1. พอเพียง ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 4% ต่อปี
    2. สมดุล ความเสี่ยงปานกลาง ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 6% ต่อปี
    3. เติบโต ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 8% ต่อปี

    แต่ความเสี่ยงสูงที่ว่านี้ ไม่ได้สูงเหมือนกับการลงทุนในหุ้นรายตัวนะครับ เพราะตัว Global ETF เค้าไปลงทุนใน ETF ที่เป็นเครื่องมือการลงทุนที่กระจายความเสี่ยงให้ต่ำอยู่แล้ว พอร์ตก็เลยไม่ได้ผันผวนมากเหมือนลงทุนในหุ้นรายตัว นอกจากนี้ยังคอยดูแลพอร์ตให้รักษาประสิทธิภาพการสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงผลตอบแทนคาดหวังที่สุดในระยะยาว ช่วยประหยัดแรงและประหยัดเวลาของเราไปได้เยอะครับ

    ใครสนใจก็ลองดูข้อมูลก่อนได้ที่ https://bit.ly/3cE3K53 หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพื่อเปิดบัญชีที่ https://link.jittawealth.co/XyT1ZL1I89 เริ่มต้นเพียง 100,000 บาทครับ

    สุดท้ายนี้ ไม่ว่าจะลงทุนด้วยตนเองหรือให้ Global ETF จัดการ การลงทุนก็มีความเสี่ยง มีโอกาสสูญเสียเงินต้นได้ เราต้องศึกษาข้อมูลให้เข้าใจก่อนลงทุนนะครับ