ไฮไลท์
- ‘ตลาดหุ้นสหรัฐ’ มี Market Cap ใหญ่ที่สุดในโลก ยังมีความแข็งแกร่งและสร้างผลตอบแทนที่ดีในการลงทุน เพราะถูกขับเคลื่อนด้วยหุ้นเทคโนโลยี ที่ยังครองการใช้งานทั่วโลก รวมไปถึงการแพร่ระบาดของ Covid-19 และวิถีปกติใหม่ (New Normal) ที่ทำให้ผู้ใช้งานพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น แต่ ‘เศรษฐกิจสหรัฐ’ ยังเปราะบางจากจำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุดในโลก
- ‘ตลาดหุ้นจีน’ มี Market Cap มาเป็นอันดับ 2 มีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากนโยบายรัฐ ที่สนับสนุนการเติบโตของภาคธุรกิจ ให้เข้าไอพีโอในตลาดหุ้น แม้ว่าจำนวนบริษัทด้านเทคโนโลยีและเมกะเทรนด์จะไม่มากเท่าสหรัฐฯ แต่พัฒนาการต่างๆ ที่ผ่านมาของจีน และตลาดประชากรใหญ่ที่สุดในโลก กำลังจะสร้างโอกาสการลงทุนในระยะยาว
- หลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี และโจ ไบเดนเข้ามาแทนโดนัลด์ ทรัมป์ คาดว่า สหรัฐฯ จะประนีประนอมกับจีนมากขึ้น หวังว่า สงครามการค้าจะสิ้นสุดลง
- ‘หุ้นสหรัฐ’ และ ‘หุ้นจีน’ เป็นโอกาสการลงทุนที่ดีทั้ง 2 ประเทศ เพราะ ‘หุ้นสหรัฐ’ หลายตัวมีการใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งของจีน มาทำธุรกิจในจีน แต่สามารถขายสินค้าได้ทั่วโลก ขณะที่ ‘หุ้นจีน’ มีบริษัทรายใหม่ๆ ที่มีทิศทางการเติบโตไปกับเศรษฐกิจของจีน และตลาดผู้บริโภคจีนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
- กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth Thematic เปิดโอกาสให้คุณจะเลือกธีม ‘ตลาดหุ้นสหรัฐ’ หรือ ‘ตลาดหุ้นจีน’ ที่ลงทุนในกองทุน ETF มาจับกลุ่มกับธีมอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ เช่น หุ้นเทคโนโลยี หุ้นสุขภาพ หุ้นฟินเทค หุ้นอีคอมเมิร์ซ หรือหุ้นระบบคลาวด์ เพื่อกระจายความเสี่ยงในพอร์ตลงทุน รับกระแสเมกะเทรนด์ในอนาคต
ดูย้อนหลัง
สรุปเนื้อหา Live
การแพร่ระบาดของ Covid-19 ในปี 2563 ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั้งโลก ตลาดการเงินการลงทุนก็เผชิญภาวะความผันผวนไปไม่ใช่น้อย ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมานี้ กลายเป็นว่า ‘เจ้าโรค Covid-19’ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ที่สะท้อนว่า ‘โลกการเงินการลงทุน จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป’
จุดเริ่มต้นของ Covid-19 เริ่มมาจาก ‘จีน’ มหาอำนาจรายใหม่ของโลก แต่ก็สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในเดือนเมษายน ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจและภาคธุรกิจ รวมทั้งตลาดการลงทุนและ ‘หุ้นจีน’ สามารถฟื้นกลับมาได้อย่างรวดเร็ว
ขณะที่ ‘สหรัฐอเมริกา’ กำลังเผชิญปัญหาจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 มากที่สุดในโลก และยังไม่มีทีท่าว่าจะลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้ในเร็ววัน เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาก็ติดลบ แต่ ‘ตลาดหุ้นสหรัฐ’ กลับไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะหุ้นที่เป็นตัวขับเคลื่อนดัชนี อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยี และเมกะเทรนด์ต่างๆ อย่าง ระบบคลาวด์ สุขภาพ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ กลายเป็นว่า ‘หุ้นสหรัฐ’ ยังน่าลงทุนอยู่
เมื่อ 2 ยักษ์ใหญ่ของโลก กำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุน และต้องการหาโอกาสเข้าสู่ ‘หุ้นสหรัฐ’ และ ‘หุ้นจีน’ ทาง Jitta Wealth จึงได้จัด Live: หุ้น ‘สหรัฐฯ’ vs ‘จีน’ ลงทุนใครดี? โดยมี คุณทีน่า สุภัททกิต เจตทวีกิจ ผู้เขียนหนังสือ กาลครั้งหนึ่งใน “จีนยุคใหม่” มาเป็นพิธีกร ร่วมด้วย คุณเผ่า ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO และผู้ก่อตั้ง Jitta และ Jitta Wealth มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสหรัฐฯ และ เซียนมี่ ทิวา ชินธาดาพงศ์ นักลงทุนหุ้น VI ที่มีความสนใจในประเทศจีนเป็นพิเศษ
ทั้ง 3 ท่าน ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ‘หุ้นสหรัฐ’ และ ‘หุ้นจีน’ รวมทั้งมองข้ามช็อตไปว่า อุตสาหกรรมอะไร ธุรกิจไหน กำลังจะเป็นอนาคตให้กับ 2 มหาอำนาจของโลก ส่วน Jitta Wealth Thematic จะมีส่วนช่วยเปิดโอกาสการลงทุนใน 2 ประเทศนี้ได้อย่างไร
จีนจากความล้าหลัง สู่ New China
เซียนมี่ เล่าประสบการณ์จากการต้องไปเรียนที่จีนว่า ดินแดนมังกรเมื่อ 20-30 ปีก่อน ไม่โสภานัก มีวิถีชีวิตลำบาก เนื่องจากเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ทุกอย่างถูกควบคุมโดยรัฐบาล อาหารและสาธารณูปโภคทุกอย่าง คือ การจัดสรรจากรัฐบาล
แต่ในความเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐบาลจีนมีการใช้วิธีโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ผ่านเสียงตามสายในยุคนั้นว่า ‘จีนจะกลายเป็นผู้นำโลก’
“มันเป็นความฝันของชาวจีน หรือ 中国梦 (จง โกว เมิง) จีนเริ่มจากการเป็นนักก็อปปี้ เรียนรู้ ลอกเลียนความสำเร็จจากประเทศอื่นๆ รวมทั้งสหรัฐฯ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายนั้น”
“จีนเปลี่ยนแปลงเยอะมาก ผมมองว่า มี 2 ปัจจัยที่ทำให้ไปถึงสำเร็จ คือ หนึ่ง ขนาดประชากรมากที่สุดในโลก ทำให้เขามีกำลังคนที่พร้อมพัฒนา มีตลาดบริโภคขนาดใหญ่ และสอง การวางรากฐานและนโยบายพัฒนาประเทศที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ผลดี คือ ตกถึงประชาชน”
เซียนมี่ บอกว่า เมื่อ 40 ปีก่อน จีนมีรายได้ต่อหัว (GDP Per Capita) อยู่ที่ 119 หยวนต่อคนต่อปี หรือประมาณ 600 กว่าบาท คนรวยของจีนตอนนั้นคือ มีแค่มอเตอร์ไซค์ แต่ผ่านมาถึงตอนนี้คนจีน มีรายได้ต่อหัว 67,212 หยวนหรือ 307,162 บาท ต่างกันราวฟ้ากับดิน
“จีนมีโอกาสโตได้อีก ยิ่งเมื่อดูสัดส่วนคนใช้อินเตอร์เน็ตปัจจุบันอยู่ที่ 853 ล้านคน หรือประมาณ 60% ของประชากรทั้งหมด เมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ที่มีคนใช้อินเตอร์เน็ตมากถึง 290 ล้านคน หรือกว่า 90% ของประชากร ดังนั้นช่องว่างตรงนี้ ยังสร้างโอกาสการโตให้เศรษฐกิจและภาคธุรกิจจีนอีกมาก”
“จีนเองเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก ขณะที่ตลาดในประเทศของเขา คือ จำนวนผู้บริโภค ดังนั้นยังมีความต้องการสินค้าจากทั่วโลกที่จีนเองก็ต้องการเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของโลกด้วยเช่นเดียวกัน”
เซียนมี่ ให้มุมมองว่า การดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีน คือ การผูกมิตรแบบ Neighbourization มีความสัมพันธ์โดยด้วยการให้กับประเทศที่ต้องการการช่วยเหลือ แน่นอนว่า จีนก็มีการต่อรองผลประโยชน์ให้ตัวเองด้วยเช่นกัน เห็นได้ชัดจากการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมจากคุนหมิงมาที่เวียงจันทน์ หรือการพานายทุนจีนไปสร้างกาสิโนในสีหนุวิลล์ ที่กัมพูชา แน่นอนว่า ในอนาคตคนจีนชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อจะทะลักเข้าสู่อาเซียนอีกมาก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นนโยบาย One Belt One Road
“จีนขยายอิทธิพลแบบผูกมิตรและค้าขาย ซึ่งจีนเก่งมาก จะไม่ค่อยเห็นประเทศอื่นๆ กล้าหือกับจีน เพราะมีการเอื้อประโยชน์ต่อกัน จะไม่เหมือนสหรัฐฯ ที่ขยายอิทธิพลแบบบังคับ ขมขู่”
“จีนเอง ยังสนับสนุนการพัฒนาภาคธุรกิจในประเทศ รวมทั้งระบบเทคโนโลยีและดิจิตอลก็จะได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงปิดกั้นการเข้ามาของ Facebook หรือ Google ได้ เพื่อให้เทคโนโลยีของคนจีนได้รับการพัฒนา และครองส่วนแบ่งการตลาดให้ผู้ใช้ระบบในจีนได้”
สหรัฐฯ ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
คุณเผ่า ผู้คร่ำหวอดในตลาดเงินตลาดทุนสหรัฐอเมริกามานานกว่า 10 ปี ให้มุมมองว่า สหรัฐฯ เป็นประเทศมหาอำนาจโลกมานาน เป็นประเทศสะท้อนภาพความอิสระเสรี มันส่งผลให้การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ รวมทั้งถูกขับเคลื่อนด้วย ‘นวัตกรรม’ มาโดยตลอด
“ผมไปใช้ชีวิตช่วงซัมเมอร์อยู่ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย เห็นคุณภาพชีวิตที่ดีของคนที่นั้น อย่างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีต่างๆ ผมก็เห็นตั้งแต่ Facebook ส่ง Invitation ให้สมัคร เห็นระบบต่างๆ ของ Google ที่ผมมองว่า ถ้าผมมีเงิน ผมก็อยากซื้อหุ้น Alphabet ไว้ เพราะพวกเราก็ใช้ Search Engine ของ Google กันทั้งนั้น”
คุณเผ่า มองว่า ‘ตลาดหุ้นสหรัฐ’ มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีมาก บริษัทใหญ่ๆ ที่ Market Cap ใหญ่ๆ เป็นบริษัทเทคโนโลยีทั้งนั้น ส่วนรายได้ของบริษัทเหล่านี้ ไม่ได้เกิดจากในสหรัฐฯ เพียงอย่างเดียว แต่กระจายการทำธุรกิจไปทั่วโลก บริษัทเทคโนโลยีเองก็เป็นลักษณะโกลบอล และมีโมเดลธุรกิจที่ดี
“ที่ผ่านมาหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ มันขึ้นมาตลอด 100-200% อย่าง Zoom โต 5 เท่า แต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ผ่านมา ทำให้นโยบายยังไม่แน่นอน ราคาหุ้นกลุ่มนี้อาจจะย่อตัวมาบ้าง ก็เป็นการขายล็อกกำไรกันไปก่อน รอนโยบายให้ชัดว่า ไบเดนมาจะขับเคลื่อนอะไรบ้าง”
“แต่ประเด็นที่พูดกันเยอะ คือ การผูกขาดของบริษัทเทคโนโลยีสหรัฐฯ เพราะมันพัฒนาเร็วมาก มีการเข้าซื้อกิจการตลอด แต่กฎหมายของสหรัฐฯ เองก็ตามไม่ทัน แน่นอนว่ากฎหมายแอนตี้ทรัสต์ (ลดการผูดขาด) ก็อาจจะกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง ด้วยตัวบริษัทเทคโนโลยีมันมีคนใช้งานทั่วโลกอยู่แล้ว และผู้บริหารเองก็แทบจะตัดขาดจากการเมืองสหรัฐฯ”
คุณเผ่า มองว่า ภาคธุรกิจสหรัฐฯ มันดีอย่างหนึ่งคือ ธุรกิจจะไม่โดนกลั่นแกล้ง เพราะแนวคิดความเป็นเสรีนิยมที่ทำให้เศรษฐกิจและการเมืองมันไปต่อได้ นี่คือจุดแข็งของ ‘หุ้นสหรัฐ’ จึงเป็นจังหวะที่ดีที่จะเข้าลงทุนใน ‘ตลาดหุ้นสหรัฐ’
“ความเป็นเสรีในแบบนี้คือ มีการถามความเห็นจากประชาชน หรือมีการสอบถามจากซีอีโอ ให้ไปพูดคุยในสภาคองเกรส ดังนั้นมันอาจจะต่างจากจีนอย่างกรณี ANT Group ที่ถูกระงับแผนไอพีโอทันที ซึ่งส่งผลต่อราคาหุ้น Alibaba จีนมีการดำเนินนโยบายอะไร มันมีการฟันธงไปเลย”
‘หุ้นสหรัฐ’ และ ‘หุ้นจีน’ ลงทุนใครดี?
คุณเผ่า บอกว่า ทั้งสหรัฐฯ และจีน มีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกัน มันควรลงทุนทั้งคู่ เพราะเหมือนเลือกเบอร์หนึ่งเบอร์สองมาให้เป็นผู้ชนะ จากตลาดหุ้นในหลายๆ ประเทศแล้ว แต่ควรจะมีการเลือกตามความเชี่ยวชาญ และติดตามข่าวสารด้วย เพราะถ้าคุณเชี่ยวชาญหุ้นกลุ่มไหน มันก็จะเป็นแต้มต่อให้คุณในการเข้าลงทุน
“ผมถนัดและติดตามข่าวสารหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ มาตลอด แต่ถ้าจะมองโอกาสลงทุนในจีน ผมอาจจะต้องสอบถามคนที่มีความเข้าใจหรือเคยลงทุนใน ‘ตลาดหุ้นจีน’ ด้วย”
เซียนมี่ ให้มุมมองว่า ทั้ง 2 ประเทศมีความแตกต่างกัน ‘หุ้นสหรัฐ’ เป็น passion-driven มีความ creativity มีคนอย่างอีลอน มัสก์ ที่สร้างนวัตกรรมอย่างรถไฟฟ้า Tesla ขณะที่จีน มีตลาดใหญ่ ประชากรเยอะ มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง มีคนอย่างแจ็ค หม่า
“มันไม่ใช่ว่า จะต้องเลือกลงทุนที่ไหน ระหว่าง ‘หุ้นสหรัฐ’ และ ‘หุ้นจีน’ ผมมองว่า อาจจะลงทุนในสหรัฐฯ ที่ใช้ประโยชน์จากภาพใหญ่ ภาพการเติบโตของจีนก็ได้ เช่น Tesla มาเปิดโรงงานผลิตรถไฟฟ้าที่จีน ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตมากกว่า แล้วมันก็ขายไปทั่วโลกได้”
“อย่างสงครามการค้าที่ผ่านมา คนจีนหลายคนเตรียมเลิกใช้ไอโฟน แต่ตอนนี้เป็นไบเดนมาเป็นประธานาธิบดี สงครามการค้าอาจจะจบเร็วๆ นี้ ก็ไม่จำเป็นต้องเลิกใช้ไอโฟน เพราะ ไอโฟนมี ecosystem ต่างๆ เหมือนล็อกผู้ใช้งานไม่ให้ไปไหน ตรงนี้ต่างหากที่เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นตลอดให้ Apple”
เซียนมี่ ทิ้งท้ายว่า หากต้องการเก็งกำไรในจังหวะการเติบโตของหุ้น คุณอาจจะเลือกลงทุน ‘หุ้นสหรัฐ’ มีช่วงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าต้องการการเติบโตทบต้นในระยะยาว คุณอาจจะเลือก ‘หุ้นจีน’ เพราะการเมือง เศรษฐกิจ และธุรกิจมีทิศทางที่ชัดเจน จากนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลที่คิดถึงประโยชน์ประชาชน
หากคุณสนใจการลงทุนทั้ง ‘หุ้นสหรัฐ’ และ ‘หุ้นจีน’ สำหรับกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth Thematic ที่เข้าลงทุนในกองทุน ETF ที่มีชื่อเสียงและให้ผลตอบแทนที่ เรามีที่ให้คุณเลือกลงทุนธีม ‘ตลาดหุ้นสหรัฐ’ ผ่าน Schwab U.S. Large-Cap ETF (SCHX) เป็นการลงทุนในหุ้นที่มี Market Cap สูง รวม 750 บริษัท ทั้งใน NYSE และ Nasdaq เช่น หุ้นเทคโนโลยีอย่าง Apple Microsoft Amazon Facebook และ Alphabet (Google) รวมไปถึง Berkshire Hathaway Johnson & Johnson Tesla และ Visa
ส่วนธีม ‘ตลาดหุ้นจีน’ ผ่าน iShares MSCI China ETF (MCHI) เป็นการลงทุน ‘หุ้นจีน’ ครอบคลุม 85% ของหุ้นทั้งหมดในตลาดจีน ไม่ว่าจะเป็นดัชนีกลุ่ม A-Share B-Share H-Share Red-Chip และ P-Chip รวมถึง US-ADR ซึ่งเป็นหุ้นจีนที่จดทะเบียนซื้อขายใน Nasdaq ด้วย
คุณเริ่มต้นลงทุนใน Jitta Wealth Thematic ได้ไม่ยาก และเหนือกว่าการลงทุนโดยตรงในกองทุน ETF ด้วยตนเองหรือลงผ่านกองทุนรวมทั่วไป เริ่มต้นด้วยเงินลงทุนเพียง 100,000 บาท คุณสามารถจับคู่ลงทุนกับธีมอื่นๆ ได้สูงสุดถึง 5 ธีม ในพอร์ตลงทุนเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น หุ้นเทคโนโลยี หุ้นสุขภาพ หุ้นฟินเทค หุ้นอีคอมเมิร์ซ หรือหุ้นระบบคลาวด์ เพื่อกระจายความเสี่ยง เพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากหลายๆ อุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ และลดความผันผวนของพอร์ตด้วย
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth Thematic ศึกษาหรือติดต่อสอบถามได้ที่เว็บไซต์ https://jittawealth.com/thematic