by Jitta
วันที่ 21 เม.ย. 2563 • อัปเดตล่าสุดเมื่อ: วันที่ 21 เม.ย. 2563
หุ้นไหนกระเป๋าหนาพอรอดพ้นวิกฤต?

💡 ไฮไลท์

  1. ในยามวิกฤตยังมีหลายบริษัทที่ยังมีสภาพคล่องในเงินสดอยู่
  2. หนี้ระยะสั้นจะกลายเป็นภาระของหลายบริษัท เมื่อรายได้หดหายไปหนึ่งไตรมาส ความสามารถที่จะจ่ายหนี้คืนได้นั้นคงต้องรอดูรัฐบาลสามารถสนับสนุนธุรกิจให้ฟื้นตัวได้เร็วแค่ไหน
  3. หนี้ระยะสั้นเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญแต่อย่าลืมดูหนี้ระยะยาวที่สามารถหวนกลับมาทำร้ายบริษัทได้ในอนาคต

สถานการณ์โรคระบาดยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องพ่วงด้วยกฎเคอร์ฟิว ที่ทำให้คนไทยใช้ชีวิตได้ไม่เหมือนเดิมซึ่งแน่นอนว่า ส่งผลกระทบต่อหลายๆ กลุ่มธุรกิจ

ถ้าเหตุการณ์ยังไม่จบเร็วๆ นี้ร้านค้าหรือห้างต้องปิดต่อไปอย่างไม่มีกำหนดบริษัทต่างๆ จะไหวกันหรือไม่

Jitta จึงร่วมกับ Stock Vitamins – วิตามินหุ้นช่วยนักลงทุนทุกคนทำการบ้านงัดงบการเงินออกมากางอ่านกันแบบละเอียด เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกช่วยคุณค้นหาหุ้นดีราคาถูกน่าลงทุนยามวิกฤตแบบนี้ในซีรีส์บทความ “ส่องหุ้นสู้วิกฤต

ถ้าถามว่ากลัวติด COVID-19 มั้ย ก็ต้องบอกว่า “กลัว” แต่มากกว่ากลัวติดโรค คือ “กลัวอดตาย”

ปัญหาใหญ่ที่คนหาเช้ากินค่ำ พ่อค้าแม่ค้า ไปจนถึงบริษัทห้างร้านที่ได้รับผลกระทบจากการปิดห้าง ปิดร้านค้า

ยิ่งปิดนาน ยิ่งเจ็บ และยิ่งจะอยู่กันไม่ได้ เพราะฉะนั้น ปัญหาเรื่องความอยู่รอดจึงเป็นประเด็นหลักที่เราจะมาคุยกันในวันนี้..

หลักการง่ายๆ ที่เราพอจะเอามาดูได้ก็คือ ดูว่ามี “เงินสด” เหลือเท่าไหร่ และมีหนี้สินที่เป็น “เงินกู้ระยะสั้นที่ต้องจ่ายใน 1 ปี” กับ “ภาระดอกเบี้ย” ที่ต้องจ่ายเท่าไหร่ เอามาหักลบกัน ก็จะได้ตัวเลขที่พอจะบอกได้ว่า เราจะอยู่รอดไหวมั้ย

ถ้าเขียนเป็นสูตรแบบง่ายๆ จะได้แบบนี้

EBITDA + CASH – Short Term Loan – Interest Expense*

EBITDA คือ กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (แปลว่าหักค่าใช้จ่าย ต้นทุน ค่าคน ค่าเช่า ค่าไฟ ไปแล้ว) และบวกกับด้วยค่าเสื่อมราคากับค่าตัดจำหน่ายกลับเข้ามา

ที่ใช้ EBITDA เพราะว่า เป็นตัวแทนอย่างง่ายในการดูว่า บริษัทมีเงินเท่าไหร่ มีความสามารถในการชำระหนี้มากน้อยแค่ไหนในระยะสั้น (แต่ถ้าเอามาวัดระยะยาวหลายปี EBITDA อาจไม่เหมาะ เพราะต้องคำนึงถึงเรื่องการลงทุนเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ ด้วย)

ทีนี้เราก็เลยเอาสูตรนี้มาลองใช้ดูกับหุ้น 3 กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตรอบนี้ มาดูกันดีกว่า ว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง

*NOTE: ข้อมูลบางตัวเช่น ‘EBITDA’ จะไม่ตรงกับ SET เนื่องจาก SET รายงานเป็นรายได้รวม ซึ่งทาง S&P Global Market Intelligence ได้ทำการคัดแยกรายได้พิเศษออก เพื่อให้เห็นภาพของรายได้ได้ชัดเจนขึ้นว่า ธุรกิจหลักดีขึ้นหรือแย่ลง จะได้ไม่ทำให้นักลงทุนผิดพลาด ในกรณีที่บริษัทมีรายได้ที่ผิดปรกติเข้ามา

เป็นกลุ่มที่โดนหนักมาก นักท่องเที่ยวหาย รายได้หด อัตราการเข้าพักลดลงอย่างมาก บางโรงแรมเห็นตัวเลข Occupancy Rate 10-20% เท่านั้น คือ ยังไงก็ไม่คุ้ม บางเชนก็ต้องปิดชั่วคราว แต่พอเรามาดูเงินสดที่เขามีจ่ายหนี้ จ่ายดอกเบี้ย แล้วก็ต้องบอกว่า ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก คือ อยู่ได้เป็นปี

บางคนอาจสงสัย จำได้ว่าอย่าง MINT D/E 2.23 เท่า แต่หนี้ที่เยอะเป็นแสนล้านบาท เป็นหนี้ระยะยาวทั้งนั้น ถ้าสถานการณ์ไม่ลากยาวหลายปี ก็ทนไหวหรือบางคนจำได้ว่า SHR ก็หนี้ท่วมไม่ใช่หรอ ก็ต้องบอกว่าเมื่อก่อนใช่ แต่หลัง IPO ก็เอาเงินไปคืนหนี้กว่า 5 พันล้านบาท ก็เลยคล่องตัวขึ้นเยอะที่ดูน่าห่วงสุดก็อาจจะเป็น VRANDA แต่ปีนี้เขาก็มีคอนโดหัวหิน

สร้างเสร็จแล้ว ยอดจองก็ 80-90% ถ้าเริ่มโอนได้ ก็จะทำให้มีรายได้เข้ามาแบ่งเบาภาระไป แต่คิดว่าคงต้องรอ COVID จบก่อน ถึงน่าจะเริ่มโอนกัน

ถึงแม้ว่ารายได้น่าจะลดลงอย่างมาก เพราะนักท่องเที่ยวหาย หยุดการบินหลายเส้นทาง แต่ในแง่ของเงินสดยังมีที่จะแบกหนี้ระยะสั้นได้อยู่ เพราะส่วนมากจะเป้นหนี้ระยะยาวกันมากกว่าแต่ก็ไม่ได้น่าไว้วางใจขนาดนั้น

ยกตัวอย่าง THAI กับ NOK ก็ขาดทุนตั้งแต่กำไรขั้นต้นเลยทีเดียว หรือ AAV กับ BA ก็มี GPM ค่อนข้างบางระดับเลขหลักเดียวส่วน BTS ที่เห็นว่า ติดลบเพราะว่ามีหนี้ระยะสั้นเยอะ แต่เป็นเพราะว่าเขามีเรื่องของการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ เข้ามาด้วย

ถึงแม้ว่าห้างจะปิดนาน แต่หลายบริษัททั้งขายวัสดุก่อสร้าง โรงหนัง สินค้าไอที โทรศัพท์มือถือ ก็ยังพอมีเงินสดติดตัวอยู่รอดกันได้พอสมควร อาจจะมีที่ดูตึงๆ เพราะว่าหนี้สั้นค่อนข้างเยอะก็คือ DOHOME, GLOBAL ประเด็นอื่นที่ต้องติดตามสำหรับร้าน IT อย่าง COM7, SPVI, CPW คือ สต็อคสินค้ารุ่นเก่าเยอะแค่ไหน ต้องลดราคามั้ย หรือว่ามีต้องตั้งสำรองด้อยค่าสินค้าคงเหลือมากน้อยแค่ไหนส่วนโรงหนัง

ปิดทั่วประเทศ กระทบรายได้หนัก แถมหนังดังหลายเรื่องเลื่อนกันเยอะ ตอนนี้ทั้งลดเงินเดือน ลดปันผล แล้วพอกลับมาเปิดได้ เดาว่าก็คงอาจต้องให้นั่งห่างๆ กัน จำกัดจำนวนคนต่อโรงไปอีกสักระยะแน่ๆโดยภาพรวมแล้ว ส่วนมากบริษัทต่างๆ ยังมีเงินสดที่สะสมมาเอาไว้รองรับภาระหนี้ หรือดอกเบี้ยในระยะสั้นกันได้อยู่

แต่ถ้าสถานการณ์โรคระบาดลากยาวไปเป็นปีๆ ก็จะน่าเป็นห่วง แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่าคือ พนักงานของบริษัทเหล่านี้ที่่มีตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพันคน รายได้หด แล้วเขาจะอยู่กันได้ยังไง