by Jitta
วันที่ 5 เม.ย. 2560 • อัปเดตล่าสุดเมื่อ: วันที่ 6 เม.ย. 2560
ที่มาและแนวคิดของ Jitta Score

มีหลายๆคนสงสัยเรื่อง Jitta Score กันมานะครับ ว่าเท่าไหร่ถึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่น่าลงทุน เพราะหุ้นในไทยมีน้อย ทำให้หุ้นที่ Jitta Score > 7 มีอยู่เพียงแค่ไม่กี่ตัว

จริงๆเนื่องจากเกณฑ์ที่ใช้คำนวณ Jitta Score มีมาตรฐานที่ค่อนข้างสูงมากครับ ทำให้หุ้นหลายๆตัวจริงๆก็เป็นบริษัทที่ดี ก็ยังได้ Jitta Score ไม่สูงมากครับ และเนื่องจากใช้การคำนวณ Financial Statement ย้อนหลังไป 10 ปีอีก ก็เลยทำให้บริษัทที่ไม่สามารถรักษากำไรสม่ำเสมอได้ทั้ง 10 ปี Jitta Score ก็จะน้อยลงไปอีก

ถ้าหากถามผม ผมคิดว่าบริษัทที่เราจะลงทุนได้อย่างน้อยควรมี Jitta Score อย่างน้อย 5 ขึ้นไปครับ เพราะถ้าหาก Jitta Score เกิน 5 ไปได้ แสดงว่า อย่างน้อยบริษัทนี้มีกระแสเงินสดจากการทำธุรกิจค่อนข้างดีแล้ว บางปีอาจจะกำไรมาก บางปีอาจจะกำไรน้อย แต่แทบไม่เคยขาดทุน
ซึ่งก็ถือเป็นหุ้นที่พื้นฐานดีระดับนึงครับ

แต่เหตุผลที่ Jitta Score ของบริษัทเหล่านี้ไม่สูงมากอาจจะมาจาก การบริหารเงินกำไรของบริษัทไม่ดีเท่าที่ควร การมีหนี้อยู่ในระดับที่สูงเกินไป ความไม่สามารถควบคุมราคาขายและต้นทุนได้ดี หรือ บริษัทอยู่ในช่วงอิ่มตัวมากแล้ว เป็นต้นครับ

ซึ่งถ้าหากเราลงทุนในบริษัทที่มีพื้นฐานการสร้างกระแสเงินสดได้ดีอยู่แล้วแบบนี้ ในราคาที่ไม่แพงมากเมื่อเทียบกับมูลค่า โอกาสขาดทุนหนักๆก็จะไม่สูงมากครับ

และนี่เป็นเหตุผลที่ผมมักบอกเสมอว่า ก่อนที่จะลงทุนให้พยายามดู Historical Jitta Score ย้อนหลังด้วยเสมอ ถ้าหากหุ้นไหนที่ Historical Jitta Score เกิน 5 ทุกปี แสดงว่าเป็นบริษัทที่ค่อนข้างปลอดภัยมาก ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีจะร้ายยังไง บริษัทก็ยังพอเอาตัวรอดได้เสมอ ทำให้โอกาสขาดทุนอย่างถาวรของเรามีน้อยครับ (ย้ำว่า ต้องลงทุนในราคาที่เหมาะสมด้วยนะครับ)

ถ้าจะให้นิยามง่ายๆของช่วง Jitta Score ว่าบริษัทเป็นยังไง ผมว่าน่าจะออกมาได้ราวๆนี้ครับ

  • Jitta Score 5-7 : Good Company
  • Jitta Score 7-8 : Great Company
  • Jitta Score 8-10 : Wonderful Company

ดังนั้นหลักการลงทุนว่าจะลงทุนในหุ้นแบบไหน เมื่อราคาเท่าไหร่ ผมอยากให้ทุกคนจำภาพด้านล่างไว้ครับ ถ้าหากใครที่เคยเรียน Jitta 101 มาน่าจะจำได้ดี นี่คือบทพิสูจน์อันแรกของ Jitta หลังจากที่ทำ Jitta Score กับ Jitta Line ของหุ้นทุกตัวเสร็จแล้ว

แกน x คือ Jitta Score
แกน y คือ Price Score หรือก็คือ ราคาหุ้นเทียบกับ Jitta Line นั่นเอง ถ้าหากว่า 5 ก็คือราคาที่ Jitta Line พอดี ถ้าหาก 10 คือ ราคาหุ้นต่ำกว่า Jitta Line มาก ส่วน 0 คือ ราคาหุ้นสูงกว่า Jitta Line มาก

ส่วนตำแหน่งของแต่ละจุดก็คือ ตำแหน่งที่หุ้นแต่ละตัวอยู่ในตอนสิ้นปี และสีเขียวคือ หุ้นที่กำไร สีแดงคือ หุ้นที่ขาดทุน หลังจากถือหุ้นอย่างน้อย 5 ปี

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ถ้าหากเป็นหุ้นที่

  • Jitta Score 8-10 : เราสามารถลงทุนได้จนถึงราคาหุ้นอยู่สูงกว่าเส้น Jitta Line 10% (Above Jitta Line 20%
    (Below Jitta Line > 20%)

แต่ถ้าจะเอาให้ง่าย ก็ยึดหลัก

  • Jitta Score > 7 ซื้อตอนราคาไม่เกิน Jitta LIne
  • Jitta Score 5-7 ซื้อตอนราคาต่ำกว่า Jitta Line 20%

ถ้าลงทุนด้วยกลยุทธ์นี้ โอกาสขาดทุนก็จะน้อยลงมากครับ จริงๆดูจากภาพก็สามารถแบ่งแบบละเอียดได้มากกว่านี้ครับ และที่ผมบอกไปก็เป็นเพียงแนวทางครับ เวลาใช้จริงๆก็แล้วแต่ใครจะนำไปประยุกต์ใช้นะครับ แต่คิดว่าคงจะเข้าใจหลักการกันแล้วนะครับ

แนวคิดอีกอย่างนึงคือ หุ้นที่ Jitta Score 5-6 นี่ ไม่ควรจะเป็นการลงทุนระยะยาวมากครับ เพราะไม่ใช่บริษัทที่ดีมาก ที่จะสร้างกำไรสูงๆจากการถือหุ้นไว้หลายๆปี ดังนั้นการลงทุนในหุ้นเหล่านี้ ควรจะซื้อเมื่อราคาต่ำกว่า Jitta Line และขายเมื่อราคาสูงกว่า Jitta Line เป็นหลักครับ

ส่วนหุ้นที่ Jitta Score > 8 นี่ ถือเป็นหุ้นชั้นดีครับ ถ้าหากว่าสามารถซื้อในราคาที่เหมาะสมได้แล้ว สมควรจะเก็บไว้ยาวๆครับ จนกว่า Jitta Score จะตกลงมาต่ำกว่า 8 หรือ Jitta Line จะตกต่ำแบบชัดเจนครับ เพราะหุ้นเหล่านี้ส่วนมากเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ Cash Cow สามารถสร้างเงินสดและนำมาคืนให้กับนักลงทุนได้หลายรูปแบบ ยิ่งถือนานยิ่งทำให้เงินลงทุนเรางอกเงยขึ้นเรื่อยๆครับ

การที่หุ้น Jitta Score สูงๆมีน้อย จริงๆก็เป็นสัจจธรรมของธุรกิจนะครับ เพราะบริษัทที่ยอดเยี่ยมมีน้อยอยู่แล้ว ทำให้ Warren Buffett เองก็บอกชัดเจนว่า ถ้าหากว่าได้ลงทุนในบริษัทที่ยอดเยี่ยมไปแล้วล่ะก็ ไม่ว่าเวลาไหนก็ไม่ควรจะขายครับ เพราะบริษัทที่ยอดเยี่ยมจะสามารถสร้างรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ ผู้ถือหุ้นก็จะยิ่งได้ประโยชน์มากขึ้นเท่านั้นครับ

และนั่นทำให้ Warren Buffett ซื้อขายหุ้นน้อยมากในแต่ละปี แต่ก็กลายเป็นนักลงทุนที่รวยที่สุดในโลกได้ครับ