Selamat siang!
ต้อนรับการเปิดให้บริการ ‘ตลาดหุ้นอินโดนีเชีย’ บนแพลตฟอร์มวิเคราะห์หุ้น Jitta เป็นประเทศที่ 19 ซึ่งทางทีมงาน Jitta จึงรังสรรค์บทความเพื่อรวบรวมความน่าสนใจของอินโดนีเซีย อีก 1 ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่กำลังมาแรง ตีคู่สูสีกับไทย
อินโดนีเชียตั้งอยู่พื้นที่ติดทะเลอยู่รอบด้านและมีเกาะกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศมากถึง 17,504 เกาะ โดยคนส่วนใหญ่นั้นใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวง คือ กรุงจาการ์ตา ปัจจุบันมีประชากรอาศัยอยู่ 10.1 ล้านคนเพียงแค่ 3% ของประเทศ สะท้อนว่า ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศกระจายอยู่ตามเมืองอื่นๆ และพื้นที่ชนบท ไม่กระจุกอยู่ในเมืองหลวงซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีในอนาคต หากเทรนด์การขยายตัวชุมชนเมือง (Urbanization) เข้ามามีบทบาทในอินโดนีเซีย จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้อีกและลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างชุมชนเมืองกับชนบทในอนาคต
ที่น่าสนใจ คือ อินโดนีเชียเป็นประเทศที่มีประชากรอายุต่ำกว่า 30 ปีกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ ความต้องการบริโภคและการกู้ยืมเงินสูง จะเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจของอินโดนีเชียเติบโตได้อีกไกล
นอกจากนี้การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ยังมีช่องว่างในการเติบโตอีกมาก เดือนมกราคม 2564 มีประชากรทั้งหมด 202.6 ล้านคนที่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนมากถึง 27 ล้านคน หรือเติบโต 16% ปัจจุบันการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรอยู่ที่ 73.7%
จำนวนปริมาณการใช้โทรศัพท์มือถือมีมากถึง 345.3 ล้านเครื่อง คิดเป็นสัดส่วนเทียบกับประชากรอยู่ที่ 125.6% นั่นหมายความว่า คนอินโดนีเซีย 1 คน มีโทรศัพท์มือถือ 2 เครื่อง นอกจากนี้ระยะเวลาการใช้โทรศัพท์มือถือต่อวันของคนอินโดนีเซียเฉลี่ยอยู่ที่ 5 ชั่วโมง 12 นาที นานที่สุดในโลก รองลงมาเป็นบราซิลที่ 4 ชั่วโมง 48 นาที
ส่วนปัญหาด้านระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ในอินโดนีเซียยังคงเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะปัญหารถติดในกรุงจาการ์ตา ที่ติดอันดับ 10 ของโลกในปี 2562 และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหานี้รัฐบาลได้ทำการก่อสร้างรถไฟ MRT ในตัวเมือง เส้นแรกเสร็จในปี 2562 และมีแผนการที่จะลงทุนทั้งหมด 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่า โครงการจะเสร็จสิ้นทั้งหมดภายในปี 2570
นอกจากนั้นจีนได้ทำสัญญากับอินโดนีเชียพร้อมที่จะลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูง จากกรุงจาการ์ตาไปบันดุง มูลค่าโครงการ 7,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะช่วยลดการใช้รถยนต์ ลดมลภาวะในอากาศ และสร้างโอกาสพัฒนาที่ดินที่ใกล้เคียงเส้นทางรถไฟได้อีกด้วย
อินโดนีเชียยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุ ทรัพยากรธรรมชาติ ผลไม้ และสัตว์สงวนกว่า 100 ชนิด จุดตำแหน่งของประเทศตั้งอยู่ในวงล้อมของทะเล เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่ส่งเสริมภาคการส่งออกและนำเข้า แต่สัดส่วนการส่งออกและนำเข้าของอินโดนีเซียในปี 2563 อยู่ที่ 17% และ 16% ตามลำดับ ซึ่งยังเป็นสัดส่วนที่ไม่สูงมาก แต่มีช่องว่างที่จะเติบโต เมื่อเศรษฐกิจขยายตัวในอนาคต
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคของอินโดนีเซีย รวบรวมจากข้อมูลของธนาคารโลก (World Bank) ในช่วง 2559-2563 มีดังนี้
- ประชากร 270.6 ล้านคน
- อัตราเงินเฟ้อ (CPI) 3.1%
- GDP ต่อหัวต่อปี 3,859.8 ดอลลาร์สหรัฐ
- มูลค่า GDP 1.034 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
- อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ 3.6%
เครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอินโดนีเซีย จากตัวเลขในปี 2562 ได้แก่ การบริการ (44.23%) อุตสาหกรรมทั่วไป (38.95%) อุตสาหกรรมการผลิต (19.70%) และเกษตรกรรม (12.72%)
จะเห็นได้ว่า สัดส่วนภาคบริการมีสูงกว่า 40% หรือเกือบครึ่งของ GDP มีความคล้ายคลึงกับประเทศยักษ์ใหญ่อื่นๆ เช่น สหรัฐฯ และจีน นอกจากนี้อินโดนีเซียมีสตาร์ตอัปที่เป็นยูนิคอร์น 6 บริษัท ส่วนใหญ่อยู่ในภาคบริการ ได้แก่
- Bukalapak แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ มูลค่าประเมิน 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- Gojek แพลตฟอร์มส่งของ เรียกรถ ชำระเงินออนไลน์ มูลค่าประเมิน 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- J&T บริการขนส่งพัสดุและโลจิสติกส์ มูลค่าประเมิน 7,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- JD.ID แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่าประเมิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- OVO แพลตฟอร์มชำระเงินออนไลน์ มูลค่าประเมิน 2,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- Traveloka แพลตฟอร์มจองตั๋วและโรงแรมออนไลน์ มูลค่าประเมิน 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับการลงทุนใน ‘ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย’ มีความน่าสนใจอยู่ตรงที่กลุ่มนักลงทุนรายย่อยในประเทศ เมื่อเดือนมกราคม 2564 สูงถึง 4.1 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ถึง 358.6% จากเพียง 894,000 บัญชี
ภายใน 6 เดือนแรกของปี 2564 กลุ่มนักลงทุนรายย่อยเพิ่มมาอีก 1.2 ล้านบัญชี ทำให้การลงทุนในตลาดหุ้นอินโดนีเซียจากประชาชนในประเทศมีสูงถึง 5.3 ล้านบัญชี เมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมดมีเพียงแค่ 2% สะท้อนว่า ยังมีช่องว่างอีกมากที่ประชาชนจะกระโดดเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เพื่อแสวงหาผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทางการเงินที่สูงกว่าการฝากเงินในธนาคาร
นอกจากนี้ดัชนีตลาดหุ้นอินโดนีเซียในระยะเวลา 10 ปี (2554-2563) ให้ผลตอบแทนรวมสูงถึง 1339% จากที่ทีมงาน Jitta รวบรวมมาจาก S&P Global Market Intelligence เมื่อเทียบกับ Buffett Indicator คำนวณมาร์เก็ตแคปเมื่อเทียบกับมูลค่า GDP จะพบว่า มูลค่าของตลาดหุ้นอินโดนีเชียยังไม่แพงมากอยู่ที่ 45.2% ยังมีรูมในการเติบโตอีกในอนาคต ไม่เหมือนกับสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทยที่มาร์เก็ตแคปสูงกว่า มูลค่า GDP ไปแล้ว
แพลตฟอร์ม Jitta ในการค้นหาหุ้นคุณค่าใน ‘ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย’
แพลตฟอร์ม Jitta สามารถเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนในการค้นหาหุ้นคุณค่า (Value Stock) ที่มีราคาเหมาะสม โดย AI และอัลกอริทึมของเราได้วิเคราะห์ ‘ตลาดหุ้นอินโดนีเชีย’ มากกว่า 650 บริษัท และจัดทำเป็น Jitta Ranking Top 10 Top 20 และ Top 30 เพื่อให้คุณเห็นภาพชัดขึ้นว่า หุ้นคุณค่าที่น่าลงทุนที่สุด มีอะไรบ้าง
มีประมาณ 120 บริษัทที่ Jitta Score สูงกว่า 5 และมีเพียง 17 บริษัทที่ Jitta Score สูงมากกว่า 7 เราได้คัดเลือก 3 อันดับแรก มาไฮไลต์ให้คุณได้รู้จักคุณภาพกิจการและงบการเงินของบริษัทเหล่านี้
บริษัทก่อตั้งเมื่อปี 2536 เป็นผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายสินค้าเซรามิกในอินโดนีเซีย โดยรายได้ 50% มาจากการผลิต และ 50% จากการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า รายได้ทั้งหมดมาจากภายในประเทศ
บริษัทมีความสามารถทำกำไรมาตลอด ในปีที่ผ่านมา มี ROE (Return on Equity) ทื่สูงขึ้น ส่วนอัตราหนี้สินต่อทุนยังคงที่ 0.55 เท่า เฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง แสดงว่าการเติบโตที่เกิดขึ้น ไม่ได้มาจากการเพิ่มหนี้สินหรือลงทุนใหม่ๆ
จุดที่น่าสนใจคือ Gross Profit Margin (GPM) Operating Margin (OM) และ Net Profit Margin (NPM) นั้นมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังอยู่ที่ 25.40% 12.70% และ 9.10% ตามลำดับ
บริษัทก่อตั้งในปี 2516 ให้บริการห้องทดลองคลินิก เป็นศูนย์วิจัยและทดลอง รวมไปถึงวิเคราะห์ยา วัคซีน และโรคต่างๆ โดยบริหารผ่าน 151 สาขาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ
บริษัทพยายามเพิ่มความสามารถในการทำกำไรมาโดยตลอด แม้จะเติบโตในอัตราที่ไม่สูงมากก็ตาม สะท้อนนว่า บริษัทพร้อมที่จะพัฒนาเทรนด์ใหม่ๆ และมีการปรับตัวรูปแบบธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังของทั้ง GPM OPM และ NPM อยู่ทื่ 58.20% 11.86% และ 10.84%
ก่อตั้งในปี 2529 บริษัทขายสินค้าอุปโภคบริโภคหลากหลาย อุปกรณ์การเรียนการศึกษา รวมทั้งผลิตเตา เครื่องปั่น และหม้อหุงข้าว จนไปถึงบริการเติมก๊าซหุงต้ม บริษัทพร้อมที่จะทำการขายส่ง ขายปลีก แต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย ผ่านร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า และตลาดสดต่างๆ
ในปี 2563 บริษัทมีสัดส่วนของรายได้เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคอยู่ที่ 91.71% ก๊าซหุงต้มและเครื่องครัว 3.38% และหนังสือ 5.53%
รายได้ของสินค้าอุปโภคบริโภคนั้นมีการเติบโตเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังอยู่ที่ 5.69% ก๊าซหุงต้มและเครื่องครัวมีการเติบโตคงที่ ส่วนหนังสือสามารถทำการเติบโตเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังได้ถึง 38.73%
นี่คือ 3 บริษัทใน ‘ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย’ นี่ทีมงานได้คัดเลือกมาจากการวิเคราะห์จากแพลตฟอร์ม Jitta โดยยึดหลักการของ Warren Buffett กูรูนักลงทุนสาย Value Investing ที่มีแนวคิดที่ว่า บอกว่า ‘Buy a Wonderful Company at a Fair Price’ หรือ ‘ลงทุนในบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม’
อย่างไรก็ตามอันดับหุ้นในแพลตฟอร์ม Jitta สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน จากความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น และงบการเงินรายไตรมาสที่แต่ละบริษัทรายงานเข้ามา จะมีผลต่ออันดับหุ้นด้วยเช่นกัน
หากคุณสนใจศึกษาบริษัทในตลาดหุ้นอินโดนีเซียเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดู Jitta Ranking Top 30 และผลตอบแทนรวม 12 ปีย้อนหลังได้ที่ https://library.jitta.com/th/ranking?market=ID โดยทีมงาน Jitta จะอัปเดตอันดับหุ้นทุกต้นปี
อ้างอิง
- 20 Unusual, Interesting and Fun Facts About Indonesia https://12go.asia/en/indonesia/interesting-facts
- 17 Things You Should Know From Indonesia’s Economic Factsheet 2018 https://www.wowshack.com/17-indonesias-economic-factsheet-2018/
- Digital 2021: Indonesia https://datareportal.com/reports/digital-2021-indonesia
- Mobile use in Indonesia tops five hours a day https://technology.inquirer.net/107522/mobile-use-in-indonesia-tops-five-hours-a-day
- Jakarta traffic https://www.tomtom.com/en_gb/traffic-index/jakarta-traffic/
- Mass Rapid Transit (MRT) Jakarta https://www.indonesia-investments.com/projects/public-projects/mass-rapid-transit-mrt-jakarta/item5198
- Indonesia looks for more funds as bill for China-backed rail project balloons by US$2 billion https://www.scmp.com/week-asia/economics/article/3147753/indonesia-looks-more-funds-bill-china-backed-rail-project
- Exports of goods and services (% of GDP) – Indonesia https://data.worldbank.org/indicator/NE.EXP.GNFS.ZS?locations=ID
- Imports of goods and services (% of GDP) – Indonesia https://data.worldbank.org/indicator/NE.IMP.GNFS.ZS?locations=ID
- The 6 Unicorn Startups founded in Indonesia https://www.failory.com/startups/indonesia-unicorns
- The number of investors on IDX has increased by 1 million https://www.idnfinancials.com/news/37848/investors-idx-increased