Part 3
แนะนำ Jitta
Mission ของ Jitta.com ที่จะมาช่วยให้นักลงทุนทั่วโลกลงทุนได้ง่า­ยขึ้นและดียิ่งขึ้น
  • เรียนรู้ Financial Statements
  • หลักการ Buy a wonderful company at a fair price
  • แนะนำ Jitta และประโยชน์ของฟีเจอร์ต่างๆ เช่น Jitta Scoreม Jitta Line, Jitta Signs, Follow Button และ Jitta Library
13:40
มาเข้าใจพื้นฐานของหุ้น แนวคิดที่ถูกต้องของตลาดหุ้น และข้อผิดพลาดของนักลงุทนส่วนใหญ่
45:04
แนวคิดเปรียบเทียบกับการซื้อรถมือสอง ตัวอย่างการประเมิณมูลค่าธุรกิจ
47:36
เข้าใจที่มาของหัวใจ Jitta Ranking และ เรียนรู้การใข้งาน Jitta ขั้นสูง เครื่องมือที่จะช่วยคุณกรองหุ้น เลือกหุ้นที่ดีเข้าสู่พอร์ตการลงทุน
21:30
ข้อเปรียบเทียบถือยาว หรือซื้อๆขายๆ แบบไหนดีกว่ากัน พร้อมอธิบายเรื่องผลตอบแทนทบต้น
QUESTION & ANSWERS
ถ้าเราถือหุ้นที่ราคาสูงกว่า (above) jitta line ซัก 30-50% และ jitta line ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ และ jitta score ยังสูงดีต่อเนื่อง (พื้นฐานดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ตลาดอาจจะคาดหวังมากเกินไป) เราควรจะขายหุ้นออกไปเมื่อไหร่ครับ

ตามหลักการลงทุนที่เขียนไว้ใน Jitta Strategy ข้อ 9 นั้น เราจะขายหุ้นของบริษัทเมื่อ

  1. Jitta Score และ Jitta Line ลดลง (ธุรกิจของบริษัทกำลังอยู่ในช่วงขาลง หรือ ธุรกิจประสบปัญหา)
  2. มีโอกาสทางการลงทุนที่ดีกว่า (เจอธุรกิจที่ดีกว่า ในราคาที่น่าลงทุนกว่า)

ดังนั้นก่อนขายต้องตัดสินใจให้ได้ก่อนครับว่า ขายแล้วเราจะเอาเงินไปทำอะไรต่อครับ ถ้าให้ดีที่สุด ก็ควรจะต้องมีโอกาสการลงทุนที่ดีกว่า ก็ค่อยขายเพื่อนำเงินไปลงทุนครับ แต่ถ้ายังไม่มีการลงทุนที่ดีกว่า การซื้อหุ้นของบริษัทที่ยอดเยี่ยมไว้ ในระยะยาวก็ยังคงจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าถือเงินสดหรือฝากไว้ในธนาคารอยู่ดีครับ

อยากจะทราบว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่า บริษัทจะจ่ายเงินปันผลเมื่อไรคะ?

ทางบริษัทจะประกาศข่าวการจ่ายเงินปันผลออกมาซึ่งสามารถอ่านข้อมูลได้ที่ www.set.or.th หลังจากประกาศออกมาแล้ว ก็สามารถเข้าไปดูตารางวันที่จ่ายเงินปันผลได้ที่

http://www.set.or.th/set/xcalendar.do?eventType=XD&index=1&language=th&country=TH

ค่า Jitta line เป็นค่าแสดง fair value ใช่มั้ยครับ ไม่ทราบว่าค่าที่ได้มาอิงกับค่าใดเป็นพิเศษมั้ยครับเช่น PE, PVB , P/S, Price/ free cash flow,yield etc..?

Jitta Line คือ มูลค่าที่เหมาะสมของธุรกิจครับ คิดโดยหลักการที่ว่า ถ้าหากเราต้องการซื้อธุรกิจเพื่อเป็นเจ้าของทั้งหมด จะต้องซื้อในราคาเท่าไหร่ ถึงจะคืนทุนภายในเวลา 10 ปีครับ

แนวทางในการคิดจะใช้มุมมองเชิงธุรกิจทั้งหมดครับ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับค่าต่างๆในการประเมินมูลค่าของตลาดหุ้นครับ ดังนั้นจึงไม่ได้อิงกับค่า PE, PVB, P/S หรือค่าอื่นๆที่ถามมาเลยครับ

คำอธิบายแนวทางการคำนวณ Jitta Score จะอยู่ใน Jitta 101 Part 2 และ Part 3 นะครับ ลองเข้าไปดูได้ครับ

ทำไมบางครั้ง Jitta Factor บางอันดีขึ้น เช่น Recent Performance แต่ Jitta Score เท่าเดิม

Jitta Factor เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งใน Jitta Score ครับ ดังนั้นในบางครั้งก็จะเห็นแบบนี้ได้ครับ แต่ทั้งนี้แล้วโดยมาก Jitta Factor และ Jitta Score ก็ควรจะต้องเคลื่อนไหวไปในทางเดียวกันครับ

จากกรณี Recent Performance ที่ถามมาได้ดี เพราะเป็นเคสที่ค่อนข้างพิเศษกว่าปรกติ เนื่องจากตัว Recent Performance เป็นค่านึงที่มีความแตกต่างจากค่า Jitta Score และค่า Jitta Factor ตัวอื่นค่อนข้างมากครับ

เพราะว่าค่าอื่นๆจะใช้การคำนวณด้วยงบการเงินในระยะยาว ในขณะที่ตัว Recent Performance นั้นจะใช้ค่าในการคำนวณย้อนหลังประมาณ 4-8 ไตรมาสหลังสุด เพื่อให้เราเห็นแนวโน้มธุรกิจในปัจจุบันได้ชัดเจนมากขึ้นครับ

ตัว Recent Performance มีเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจคู่กับ Jitta Score, Jitta Factor ตัวอื่นๆที่วิเคราะห์ด้วยมุมมองระยะยาวเป็นหลักครับ เพื่อให้เราทันกับสภาพการณ์ของบริษัทล่าสุดได้มากขึ้นครับ เพราะบางบริษัทวิเคราะห์แบบมองระยะยาวแล้วงบการเงินอาจจะดี แต่พอมาดูดีๆ 3-4 ไตรมาสหลังสุด อาจจะเริ่มไม่ดี เราก็ควรจะต้องรู้เท่าทันครับ และมีจุดให้สังเกตได้ครับ

โดยเฉพาะช่วง Q1, Q2 ที่ข้อมูลออกมาเพียงแค่ 50% ของปี ก็จะทำให้ตัว Recent Performance มีการปรับขึ้นลงได้พอสมควร แต่ว่าจะไม่ได้มีส่วนเข้าไป weight ใน Jitta Score มากครับ เพราะเป็นเพียงแค่ Recent Performance ในช่วงเวลาที่ไม่นานมาก เทียบกับงบการเงินโดยระยะยาวทั้งหมดครับ

แต่ทั้งนี้ Recent Performance จะมีผลกับ Jitta Score มากหน่อย ในกรณีที่บริษัทมีผลการดำเนินงานที่แย่ลงมากๆใน 2-4 ไตรมาสหลังสุดครับ เพื่อเตือนให้เราระวังให้ดีครับว่า บริษัทอาจจะมีอะไรที่ไม่ปรกติครับ

Jitta factor แสดงเป็นรายไตรมาส ใช่มั๊ยครับ ถ้าแสดงเป็นรายไตรมาส เวลาเข้าไปดูน่าจะบอกด้วยว่าเป็น factor ของไตรมาสไหน

Jitta Factor แสดงเป็นรายไตรมาสเหมือนกับ Jitta Score ครับ ดังนั้นสามารถเอาเมาส์ไปวางบน Jitta Score ในหน้า Summary ก็จะทราบได้ว่า ค่า Jitta Score, Jitta Factor ที่เห็นอยู่ ณ ขณะนี้ มาจากงบการเงินไตรมาสไหน และ อัปเดตล่าสุดเมื่อไหร่

ทำไมบางครั้งเข้าไปดูข้อมูลรายได้ของบางบริษัทใน set.or.th แล้ว ไม่ตรงกับรายได้ของบริษัทนั้นใน Jitta FactSheet

เวลาใช้ตัวเลข Revenue นั้น Jitta จะใช้ตัวเลขรายได้จากยอดขายหรือรายได้หลักของบริษัทครับ ในขณะที่ SET จะใช้รายได้รวมครับ

ที่ Jitta ใช้รายได้หลักแทนรายได้รวมนั้น ก็เพื่อให้เห็นภาพของรายได้ได้ชัดเจนขึ้นครับว่า ธุรกิจหลักดีขึ้นหรือแย่ลงครับ จะได้ไม่ทำให้นักลงทุนผิดพลาด ในกรณีที่บริษัทมีรายได้ที่ผิดปรกติเข้ามาครับ

ซึ่งการคิด Jitta Score ก็คิดมาจากรายได้หลักของบริษัทมากกว่ารายได้รวมครับ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า สินค้าและบริการหลักของบริษัทยังเป็นที่ต้องการของตลาด และ ยังขายได้ดีเหมือนเดิมอยู่หรือเปล่า หรือว่า สินค้าขึ้นราคาตามเงินเฟ้อได้หรือเปล่า หรือ บริษัทมีความสามารถในการสร้างรายได้จากสินค้าและบริหารใหม่ๆได้หรือเปล่า เป็นต้นครับ ก็จะทำให้สมเหตุสมผลกว่า การนำรายได้อื่นๆ หรือ ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม (ที่อาจจะไม่แน่นอนในแต่ละปี) มาร่วมคำนวณด้วยครับ

ผมจะรบกวนถามความหมายของตัวเลขในหน้า Factsheet ครับ พอดีบางตัวเลขผมไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไร เช่น1.Operating Margin 2.Income Tax Rate 3.Working Cap'l (฿mill) 4.Shr. Equity (mill) 5.Return on Total Ca'l

สำหรับค่าต่างๆใน FactSheet สามารถเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน http://library.jitta.com/th/glossary ครับ

การที่ราคาปัจจุบันยังที่ต่ำกว่า Jitta Line นั้น รบกวนสอบถามว่าปัจจัยอะไรที่จะทำให้ราคาเข้าใกล้ Jitta Line บ้างครับ

ถ้าตอบตาม Ben Graham หรือ Warren Buffett ก็คือ ไม่มีใครบอกได้ครับว่า ราคาจะเข้าใกล้มูลค่าตอนไหน แต่สุดท้ายแล้ว ราคากับมูลค่าจะต้องวิ่งไปในทิศทางเดียวกันเสมอครับ

ซึ่งถ้าหากดูหุ้นใน Jitta ก็จะเป็นแบบนั้นทุกหุ้นครับ ดังนั้นถ้าหากว่า Jitta Line ยังคงสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ยังไงราคาหุ้นก็ต้องขึ้นสูงไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน แม้ว่าราคาจะไม่ได้เข้าใกล้ Jitta Line มากขึ้นไปกว่าเดิมครับ

กรณีที่พอจะอนุโลมให้ตอบคำถามนี้ได้ก็คือ บริษัทมีสิ่งกระตุ้นบางอย่าง เช่น มีการประกาศขยายกิจการด้วยการควบรวม การออกสินค้าใหม่ การซื้อหุ้นคืน ต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น ก็อาจจะทำให้ราคาหุ้นขยับเข้าใกล้ Jitta Line ได้เร็วขึ้นครับ

แต่สุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีใครรับรองได้ 100% ว่าเกิดเหตุการณ์แบบนี้แล้ว ราคาจะขยับไปใกล้มูลค่าที่เหมาะสมได้แค่ไหนครับ

เพราะถ้าตลาดโดยรวมกำลังไม่ดี ราคาก็อาจจะไม่ขึ้นได้ครับ

ดังนั้นอย่าพยายามคาดเดาราคาตลาดครับ มองที่มูลค่าของบริษัทว่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็พอครับ เพราะสุดท้ายแล้ว ราคาก็จะต้องวิ่งไปทางเดียวกับมูลค่า เสมอครับ อันนี้เป็นสัจจธรรม

เมื่อ Jitta มี notification ว่ามีการอัปเดตงบการเงินของบริษัทนั้นๆ เข้ามา เราจะดูตรงไหนครับ ว่างบการเงินเปลี่ยนแปลงยังไง

เมื่องบการเงิน update สามารถเข้าไปดูงบการเงินฉบับเต็มได้ที่หน้า Financial ครับ หรือ เข้าไปดูฉบับย่อได้ที่หน้า FactSheet ของหุ้นนั้นๆครับ

ทำไมหุ้นบางตัวค่า Revenue ใน FactSheet กับใน set.or.th มีค่าไม่เท่ากัน

เวลาใช้ตัวเลข Revenue นั้น Jitta จะใช้ตัวเลขรายได้จากยอดขายหรือรายได้หลักของบริษัทครับ ในขณะที่ SET จะใช้รายได้รวมครับ

ที่ Jitta ใช้รายได้หลักแทนรายได้รวมนั้น ก็เพื่อให้เห็นภาพของรายได้ได้ชัดเจนขึ้นครับว่า ธุรกิจหลักดีขึ้นหรือแย่ลงครับ จะได้ไม่ทำให้นักลงทุนผิดพลาด ในกรณีที่บริษัทมีรายได้ที่ผิดปรกติเข้ามาครับ

ซึ่งการคิด Jitta Score ก็คิดมาจากรายได้หลักของบริษัทมากกว่ารายได้รวมครับ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า สินค้าและบริการหลักของบริษัทยังเป็นที่ต้องการของตลาด และ ยังขายได้ดีเหมือนเดิมอยู่หรือเปล่า หรือว่า สินค้าขึ้นราคาตามเงินเฟ้อได้หรือเปล่า หรือ บริษัทมีความสามารถในการสร้างรายได้จากสินค้าและบริหารใหม่ๆได้หรือเปล่า เป็นต้นครับ ก็จะทำให้สมเหตุสมผลกว่า การนำรายได้อื่นๆ หรือ ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม (ที่อาจจะไม่แน่นอนในแต่ละปี) มาร่วมคำนวณด้วยครับ

ในแนวทางการลงทุนธุรกิจที่ยอดเยี่ยมจำเป็นต้องรอราคาต่ำกว่ามูลค่าเสมอไปหรือไม่ หรือเราสามารถให้ค่า Premium กับหุ้นที่ดีได้มากน้อยแค่ไหน คือ สูงกว่า Jitta Line ได้กี่เปอร์เซนต์ครับ

ยิ่งเราเลือกลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพสูงขึ้นเท่าไหร่ เราก็สามารถที่จะลงทุนในมูลค่าที่สูงกว่ามูลค่าที่เหมาะสมได้ครับ ซึ่งจะลงทุนได้ในราคาที่สูงกว่า Jitta Line เท่าใดนั้น ลองเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความด้านล่างนี้ครับ

http://library.jitta.com/th/article/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-jitta-score

แต่ถ้าให้ดีและปลอดภัยก็รอลงทุนในหุ้นคุณภาพดีเหล่านี้ในราคาที่เหมาะสมดีกว่าครับ

ทำไมหุ้นบางตัวถึงมีข้อมูลรายไตรมาสล่วงหน้าไปแล้ว เช่น ในขณะนี้เดือน 5 น่าจะมีข้อมูลแค่ไตรมาส 1 แต่บางหุ้นมีข้อมูลถึงไตรมาส 3 ใน FactSheet ไปแล้ว

ทั้งนี้ปีทางบัญชี (Fiscal Year) ของบริษัท ไม่จำเป็นต้องปิดตามปีปฏิทิน (Calendar Year) นะครับ ดังนั้นเวลาดูงบรายไตรมาส ก็ต้องดูให้ดีว่าบริษัทปิดงบเมื่อไหร่ด้วยครับ จะได้ตามข้อมูลรายไตรมาสได้ถูกต้องครับ

เช่น บริษัทที่มีการปิดงบ Fiscal Year ในเดือน 6 แสดงว่า งบไตรมาส 1 จะปิดในเดือนกันยายน (เดือน 9) งบไตรมาส 2 จะปิดในเดือนธันวาคม (เดือน 12) งบไตรมาส 3 จะปิดในเดือนมีนาคม (เดือน3) และงบปีจะปิดในเดือนมิถุนายน (เดือน 6) ทำให้ในขณะเวลาตามปีปฏิทินทั่วไปอยู่ที่เดือนพฤษภาคม (เดือน 5) บริษัทก็ทำการปิดงบไตรมาส 3 ไปเรียบแล้ว และแสดงตัวเลขงบการเงินออกมาสู่สาธารณะแล้วครับ

(ทั้งนี้ใน Jitta FactSheet จะมีบอกวันปิด Fiscal Year ของแต่ละบริษัทไว้ด้านล่างครับ เพื่อให้คนที่อ่านงบการเงินได้มาดูแล้วจะได้เข้าใจค่าต่างๆตรงกับความจริงครับ)

ส่วนของ Jitta เองก็ไม่ต้องเป็นห่วงครับ เพราะมีการจัดลำดับตามข้อมูลรายไตรมาสที่ออกมาใหม่ ตาม Fiscal Year ของแต่ละบริษัท แล้วจัดให้เป็น Jitta Score และ Jitta Line ปัจจุบันเสมอ (ตาม Calendar Year)

ถ้าหากต้องการจะเปรียบเทียบตัวเลขผลการดำเนินงานใน Factsheet ของ 2 บริษัท ต้องทำยังไงครับ ?
  1. เข้าไปที่หน้า FactSheet ของหุ้นที่ต้องการแล้ว คลิกขวาที่หุ้นที่อยากจะเปรียบเทียบ (ที่อยู่ใน กลุ่ม related หรือ follow ทางด้านขวามือครับ)

  2. ถ้าไม่มีหุ้นที่ต้องการเปรียบเทียบอยู่ ก็ให้ไป Follow หุ้นที่ต้องการนำมาเทียบนั้นก่อน จากนั้นค่อยเข้าไปทำตามข้อ 1 ใหม่ครับ

Growth Opportunity ใน Jitta Factor มีแนวทางในการคำนวณออกมาอย่างไร

สำหรับ Growth Opportunity หลักๆก็ดูว่าการเติบโตของบริษัทในภาพรวมเป็นอย่างไร สูงหรือต่ำกว่าอุตสาหกรรมหรือคู่แข่งโดยรวมอย่างไร ธุรกิจถึงจุดอิ่มตัวแล้วมากน้อยแค่ไหน แนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร

ซึ่งถ้าเข้าไปดูในหน้า FactSheet ด้านขวาล่างจะมีตาราง Annual Rate ทำให้เห็นแนวโน้มการเติบโตในแต่ละค่าที่สำคัญๆของบริษัทและวิเคราะห์ได้ครับ

Return to shareholder ใน Jitta Factor หมายถึงอะไร และ มีที่มาอย่างไร

Return to shareholder คือ การวัดว่า ถ้าหากว่าเราเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้ว บริษัทจะสร้างความมั่งคั่งให้เราได้อย่างไร (โดยไม่เกี่ยวกับราคาหุ้นที่สูงขึ้นในตลาดนะครับ) และ ผู้บริหารนั้นบริหารเพื่อผลตอบแทนสูงสุดของผู้ถือหุ้นหรือเปล่าครับ

ซึ่งเกณฑ์ในการใช้ดูหลักๆนั้น ก็คือต้องดูไล่มาตั้งแต่ว่า ผู้บริหารควรจะลงทุนเพิ่มในบริษัทหรือเปล่า ถ้าไม่ลงทุนเพิ่มแล้วควรจะนำเงินไปจ่ายหนี้สินหรือเปล่า ถ้าไม่ต้องจ่ายหนี้แล้ว จะนำเงินไปซื้อหุ้นคืนหรือเปล่า และสุดท้ายแล้วจ่ายปันผลเหมาะสมแค่ไหน เป็นต้นครับ

ซึ่งทุกส่วนจะต้องวิเคราะห์ว่า ผู้บริหารตัดสินใจทำแต่ละอย่าง เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นหรือเปล่าครับ

จริงๆตัว Return to shareholder นี้ใช้เป็นเกณฑ์ในการวัด Corporate Governance ได้เหมือนกันครับ ถ้าดีมากแสดงว่า ผู้บริหารซื่อตรง โปร่งใส และ บริหารบริษัท เพื่อผลตอบแทนสูงสุดของผู้ถือหุ้นเป็นหลักครับ

Competitive Advantage นั้น ค่อนข้างจะวัดออกมาได้ยากมาก เพราะเป็นค่าเชิงคุณภาพของบริษัท อยากทราบว่าทาง Jitta มีแนวทางในการคำนวณออกมาอย่างไรครับ

แม้ว่าอาจจะเปิดเผยสูตรในการคิดโดยตรงไม่ได้ แต่โดยสรุปแล้ว หลักการคิด Competitive Advantage นั้น ค่อนข้างจะซับซ้อนมากที่สุดใน Jitta Factor ทั้ง 5 ตัวครับ ใช้ตัวเลขทางการเงินหลายอย่างมาเพื่อมาใช้คำนวณ (จริงๆเรียกได้ว่าเป็นน้องๆ Jitta Score เลยครับ) และใช้ค่าในงบการเงินทั้ง 3 ฉบับแบบครบถ้วนครับ

วิธีการวัด Competitive Advantage นั้น จะเป็นการวิเคราะห์ตัวเลขทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจทั้งหมดครับว่า รายได้และกำไรเติบโตขึ้นมากแค่ไหน มากหรือน้อยกว่าอุตสาหกรรมโดยรวม และถ้าหากว่ารายได้และกำไรเติบโตเท่ากัน บริษัทไหนที่กระแสเงินสดดีกว่า บริษัทไหนที่ควบคุมต้นทุนและมี Economy of scale ที่ดีกว่า

ถ้าหากทุกอย่างเหมือนกัน บริษัทไหนที่ใช้หนี้สินน้อยกว่าในการสร้างกำไรที่เท่ากัน และบริษัทไหนที่ใช้เงินลงทุนน้อยกว่าเพื่อสร้างกำไรที่เท่ากัน บริษัทเหล่านั้นก็ย่อมจะต้องมี Competitive Advantage ที่ดีกว่า เป็นต้น

ทั้งนี้ด้านบนก็จะเป็นการยกตัวอย่างให้เข้าใจแบบง่ายๆ ในความเป็นจริงต้องใช้ตัวเลขทางการเงินมากกว่านี้ในการนำมาคำนวณและตรรกะในการคำนวณก็จะซับซ้อนกว่านี้อีกสักเล็กน้อยครับ

ทำไมหุ้นแต่ละตัวมี Jitta Signs ไม่เหมือนกัน บางตัวมีมาก บางตัวมีน้อย

Jitta Signs จะแสดงเฉพาะจุดแข็งและจุดอ่อน ของตัวเลขในงบการเงินให้เห็นชัดครับ ดังนั้นถ้าไม่มีอะไรที่ดีมากอย่างชัดเจน หรือ แย่มากอย่างชัดเจน ก็จะไม่มี Jitta Signs ขึ้นแสดงในหัวข้อนั้นของหุ้นตัวนั้นๆครับ

หุ้นบางตัว Jitta Line จะมีเส้นสั้นๆที่เป็นสีน้ำตาลแสดงอยู่ในปีปัจจุบัน หมายความว่าอย่างไร

ในกรณีที่บริษัทปิดงบการเงินรายปีไปแล้ว และยังไม่ประกาศงบการเงินไตรมาส 1 ของปีปัจจุบันออกมา ทาง Jitta จะถือว่าบริษัทมีมูลค่าเท่าเดิมไปเรื่อยๆตามงบการเงินที่มีถึงปีที่แล้ว ก็เลยจะลาก Jitta Line ที่มีมูลค่าเท่ากับมูลค่าล่าสุดไปเรื่อยๆครับ จนกระทั่งได้รับตัวเลขผลประกอบการชองไตรมาส 1 เรียบร้อยแล้ว Jitta จึงจะทำการคำนวณ Jitta Line ของทั้งปีใหม่ และลาก Jitta Line ด้วยเส้นสีดำต่อจากปีล่าสุดไปอีก 12 เดือนครับ

หุ้นที่ไม่มี Jitta Line ในบางปี มีความหมายอย่างไร

จริงๆ Jitta Line มีทุกปีนะครับ เพียงแต่ในปีที่มองไม่เห็นนั้น ก็คือ ปีที่ Jitta Line มีค่าเป็นศูนย์ (0) ครับ

เมื่อบริษัทเกิดการขาดทุน ทาง Jitta จะมองว่าเป็นความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง ก็จะหยุดทำการคำนวณมูลค่าและปรับ Jitta Line ให้เป็นศูนย์ (0) โดยอัตโนมัติ เพื่อปกป้องนักลงทุนทั่วไปจากความเสี่ยงที่สูงนี้ครับ

เมื่อบริษัทประกาศงบการเงินแล้ว นานแค่ไหนทาง Jitta ถึงจะอัปเดตค่า Jitta Score, Jitta Line และงบการเงินในหน้า FactSheet, Financial

ทาง Jitta รับข้อมูลงบการเงินจากทาง Reuters เป็นหลัก ดังนั้นเมื่อบริษัทประกาศงบการเงินออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว Jitta ก็ต้องรอทาง Reuters ทำการอัปเดตตัวเลขต่างๆในงบการเงิน และส่งมาให้ก่อน จึงจะทำการเพิ่มตัวเลขงบการเงินใหม่ในหน้า FactSheet, Financial จากนั้นจึงคำนวณค่า Jitta Score, Jitta Line ใหม่ครับ

ซึ่งหุ้นที่อยู่ใน SET 100 น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 อาทิตย์หลังจากที่งบออกอย่างเป็นทางการ ส่วนหุ้นอื่นๆก็จะช้าเร็วแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความสำคัญและขนาด Market Cap ของหุ้นตัวนั้นครับ แต่ทั้งนี้ส่วนมากก็จะไม่เกิน 45 วัน หลังจากที่งบออกครับ

ถ้าต้องการดู Jitta Score ย้อนหลังในปีก่อนๆ หรือ ไตรมาสก่อนๆ ต้องทำอย่างไร

สำหรับ Jitta Score ของปีก่อนๆ เข้าไปดูได้ในหน้า Summary ตรงกราฟจะมี tab Jitta Score อยู่ครับ ซึ่งก็จะแสดงข้อมูล Jitta Score ของทุกๆสิ้นปีที่ผ่านมา ทำให้เรามองเห็นได้ง่ายว่า บริษัทมีผลการดำเนินงานที่สม่ำเสมอมากน้อยแค่ไหน

ส่วน Jitta Score สำหรับไตรมาสก่อนๆนั้น ใช้ Jitta Time Machine ในการดูได้ครับ โดยการเอาเมาส์ไปวางไว้ที่กราฟ แล้วเลื่อนไปมา ก็จะเห็น Jitta Score ของช่วงเวลานั้นๆปรากฏขึ้นมาในช่อง Jitta Score ครับ

ค่าต่างๆใน Jitta FactSheet หมายถึงอะไรบ้าง

ลองเข้าไปอ่านใน Jitta Glossary ได้นะครับ จะมีบอกความหมายของคำศัพท์ต่างๆใน Jitta พอสังเขปครับ

ส่วนค่าต่างๆที่เป็นคำศัพท์ทางด้านการเงิน ถ้าสนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากใน Jitta Glossary ก็สามารถค้นหาใน Google ได้เลยครับ เพราะเป็นคำศัพท์ที่เป็นสากลใช้กันทั่วโลกอยู่แล้วครับ

ถ้าหากหุ้นมีการแตกพาร์ ทาง Jitta จะทำการปรับข้อมูลย้อนหลังให้ด้วยหรือไม่

เมื่อหุ้นมีการแตกพาร์ ทาง Jitta จะทำการปรับจำนวนหุ้น (Common Share ในหน้า FactSheet) ย้อนหลังกลับไปให้ทุกปีด้วยครับ เพื่อให้นักลงทุนเปรียบเทียบตัวเลขได้ง่ายขึ้นและตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น

(ทำให้บางครั้งตัวเลข Per Share ของ Jitta อาจจะไม่ตรงกับใน set.or.th เพราะตัวเลขใน set.or.th จะไม่ได้ปรับค่า Per Share ย้อนหลังให้ตามจำนวนหุ้นหลังแตกพาร์ล่าสุดครับ)

Jitta มีข้อมูลหุ้นทั้งหมดกี่ประเทศ และ อนาคตมีแผนจะเพิ่มข้อมูลหุ้นในประเทศไหนอีกบ้าง

ปัจจุบัน Jitta มีข้อมูลหุ้นอยู่ 2 ประเทศ คือ ประเทศไทย และ สหรัฐอเมริกา และในอนาคตถ้าหากว่ามีผู้ใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คงจะค่อยๆเพิ่มข้อมูลหุ้นของประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษ เยอรมัน จีน สิงคโปร์ ออสเตรเลีย เข้ามาครับ

ในกรณีที่เจอบริษัทที่ดีมากแล้ว (Jitta Score สูง) และราคาต่ำกว่าราคาที่เหมาะสมมาก (below Jitta Line มาก) แต่มีสภาพคล่องต่ำ ตามแนวทางการลงทุนของ Warren Buffett เราควรจะลงทุนหรือไม่

ตามหลักการลงทุนจริงๆแล้ว เราไม่ได้สนใจเรื่องสภาพคล่องมากครับ เพราะนั่นเป็นเรื่องของตลาดหุ้นครับ ถ้าหากมีโอกาสที่จะลงทุนในบริษัทเหล่านี้ได้ในราคาที่ถูก เราก็สามารถลงทุนได้ครับ

แต่ทั้งนี้ สภาพคล่องจะมีปัญหากรณีเดียวครับ นั่นคือ เงินลงทุนของเรามีขนาดใหญ่กว่าสภาพคล่องของหุ้นมากจนเกินไป และกว่าที่เราจะซื้อหุ้นได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ (เช่น 10% - 20% ของพอร์ต) จะทำให้ราคาเฉลี่ยที่ซื้อแพงกว่าราคาที่เหมาะสม หรือ แพงกว่าราคาที่มี margin of safety ในใจเราไปแล้ว แบบนั้นก็อาจจะทำให้เราลงทุนไม่ได้ครับ ก็ต้องมองหาเฉพาะบริษัทที่เหมาะสมกับขนาดเงินลงทุนของเราครับ

ยกตัวอย่างของ Warren Buffett ตอนนี้ที่เงินมากมายมหาศาล ก็ไม่สามารถที่จะลงทุนในบริษัทขนาดเล็กได้อีกต่อไปครับ ก็ต้องซื้อหุ้นหรือซื้อบริษัทที่มีผลกำไรสุทธิหลายร้อยล้านดอลล่าร์ขึ้นไปเท่านั้นครับ ไม่เหมือนสมัยตอนหนุ่มๆที่สามารถลงทุนในหุ้นได้หลากหลายตัวครับ

ดังนั้นคำถามที่ว่าเราควรลงทุนในหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำไหม ก็ต้องตอบด้วยขนาดพอร์ตของแต่ละคนครับ ถ้าพอร์ตยิ่งใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องลงทุนในหุ้นที่มีสภาพคล่องสูงมากขึ้นเท่านั้นครับ

จะดูว่า Jitta Score และ Jitta Line มีการอัปเดตล่าสุดเมื่อไหร่ ใช้งบการเงินถึงไตรมาสไหน ได้อย่างไร

สามารถเข้าไปดูวันที่ล่าสุดที่ Jitta Score และ Jitta Line อัปเดตได้ โดยการเอาเมาส์ไปวางไว้ตรงป้าย Jitta Score ทั้งในหน้า Summary และหน้า Browse ครับ

นอกจากนั้น อีกหลายวิธีง่ายๆในการดูว่า Jitta Score และ Jitta Line นั้น update ล่าสุดถึงไตรมาสไหนแล้ว ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่

  1. หน้า FactSheet : ในตารางด้านล่างซ้ายจะมีบอกรายได้และกำไรต่อหุ้นของแต่ละไตรมาส ซึ่ง Jitta ก็จะ update ตามข้อมูลที่มีครับ ดังนั้นถ้าหากเห็นข้อมูลถึง Q2 2014 ก็หมายความว่า Jitta Score และ Jitta Line ก็จะ update ล่าสุดด้วยข้อมูลงบการเงินย้อนหลังที่มี จนถึง งบการเงินของ Q2 2014 ครับ
  2. หน้า Financial : ด้านบนสุดของตารางจะมีบอกวันที่ของงบการเงินที่ใช้ครับ จะดูได้ทั้งแบบ รายปี และ รายไตรมาส ซึ่งในที่นี้ถ้าหากเราอยากรู้งบการเงินล่าสุดที่ใช้ ก็ให้เลือกเป็นแบบ Quarterly แล้วดูตารางคอลัมน์ซ้ายมือสุด ก็จะเห็นว่ามีเขียน 3 months ending 2014-06-30 ก็แสดงว่า Jitta Score และ Jitta Line นั้น update ด้วยงบการเงินล่าสุดที่ปิดงบ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2014 ครับ
  3. อีเมล์ Financial Update : ในกรณีที่เรา Follow หุ้นเอาไว้ เวลาที่บริษัทมีการประกาศผลประกอบการใหม่ และ Jitta ทำการ update Jitta Score, Jitta Line เรียบร้อยแล้ว ก็จะส่งอีเมล์แจ้งไปให้ ซึ่งรายละเอียดวันที่ update และ งบที่ใช้ update ก็จะมีแจ้งอยู่ในอีเมล์เรียบร้อยครับ

จะเห็นว่าอีเมล์ Financial Update นั้น มีข้อมูลที่ค่อนข้างครบถ้วนและดูง่ายมากนะครับ ดังนั้นผมก็แนะนำว่าถ้าหากเป็นหุ้นที่เราสนใจ ยังไงก็ควร Follow ไว้ครับ เพราะจะทำให้เรามี record เก็บย้อนหลังไว้ตลอดเวลาว่า บริษัทที่เราสนใจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างในช่วงเวลาที่ผ่านมาทั้งหมด นับตั้งแต่วันที่เรา Follow ครับ